ความหลากชนิดและการกระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ศึกษาความหลากหลายชนิดและการกระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเก็บตัวอย่างจาก 10 สถานี ในเดือนพฤษภาคม (ฤดูฝน) และธันวาคม (ฤดูแล้ง) พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบหอยทั้งสิ้น 8 วงศ์ 10 สกุล 12 ชนิด ประกอบด้วยหอยฝาเดียว จำนวน 5 วงศ์ 8 ชนิด และหอยสองฝา จำนวน 3 วงศ์ 4 ชนิด หอยทราย Mekongia swainsoni braueri เป็นชนิดที่มีการแพร่กระจายและมีปริมาณชุกชุมมากที่สุด ความชุกชุมของหอยน้ำจืดพบในช่วง 8-373 ตัวต่อตารางเมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 109±131.87 ตัวต่อตารางเมตร ความชุกชุมของหอยน้ำจืดในฤดูฝน (149±169.56 ตัวต่อตารางเมตร) พบมากกว่าในฤดูแล้ง (69±66.51 ตัวต่อตารางเมตร) ความชุกชุมของหอยน้ำจืดมีความสัมพันธ์ทางสถิติ (p < 0.05) กับปริมาณสารอินทรีย์ในดิน ลักษณะของเนื้อดิน ออกซิเจนละลายน้ำ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ และอุณหภูมิของน้ำ การศึกษานี้สรุปว่าความหลากหลายชนิดและความชุกชุมของหอยน้ำจืดสามารถนำมาใช้บ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 


คำสำคัญ : หอยน้ำจืด; ความหลากชนิด; แม่น้ำป่าสัก; จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biography

ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

References

[1] อรรถพล โลกิตสถาพร และจุฑาทิพย์ โลกิตสถาพร, 2545, ความชุกชุม ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 23/2554, ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดพระนครศรีอยุธยา กองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 57 น.
[2] สุชาติ ผึ่งฉิมพลี, 2550, ชนิด และการแพร่ กระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง, เอกสารวิชาการฉบับที่ 32/2550, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปทุมธานี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 55 น.
[3] สุชาติ ผึ่งฉิมพลี และประสิทธิ นิยมไทย, 2555, ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำปราจีนบุรี, เอกสารวิชาการฉบับที่ 6/2555, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสระบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 85 น.
[4] สุชาติ ผึ่งฉิมพลี และฉวีวรรณ สุขมงคลรัตน์, 2556, ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง, เอกสารวิชาการฉบับที่ 6/2556, ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดสระบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 70 น.
[5] Kittivorachate, R. and Yangyuen, C., 2004, Molluscs in the Ubolratana Reservoir, Khon Kaen, Kasetsart J. (Nat. Sci.) 38: 131-139.
[6] อรภา นาคจินดา, มณฑิรา เปี่ยมทิพย์มนัส, จุฑามาศ จิวาลักษณ์, วิสาขา ปุณยกนก และ จินตนา โตธนะโภคา, 2548, การใช้ประโยชน์จากหอยน้ำจืดในประเทศไทย, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ, 155 น.
[7] Elder, J.F. and Collins, J.J., 1991, Freshwater molluscs as indicators of bioavailability and toxicity of metals in surface-water systems, Rev. Environ. Contam. Toxicol. 122: 37-79.
[8] Gautam, B., Maskey (Byanju), R., Sapkota, R.P. and Dangol, D.R., 2014, Aquatic Macro-invertebrates as Bio-indicators: An Approach for Wetland Water Quality Assessment of Rampur Ghol, Chitwan, Nepal, J. Instit. Sci. Technol. 19(2): 58-64.
[9] Oehlmann, J. and Schulte-Oehlmann, U., 2003, Molluscs as bioindicators, pp. 577-635, In Markert, B.A., Breure, A.M., Zechmeister, H.G. (Eds.), Trace Metals and other Contaminants in the Environment, Volume 6: Bioindicators and Biomonitors-Principles, Concepts and Applications, Elsevier Science, Amsterdam, Lausanne, New York.
[10] Oloyedea, O.O., Otarighob, B. and Morenikejid, O., 2017. Diversity, distribution and abundance of freshwater snails in Eleyele dam, Ibadan, south-west Nigeria, Zool. Ecol. 27: 35-43.
[11] Bogan, A.E., 1993, Freshwater bivalve extinctions (Mollusca: Unionoida): A search for causes, Amer. Zool. 33: 599-609.
[12] Ricciaedi, A., Neves, R.J. and Rasmussen, J.P., 1998, Impending extinctions of North American freshwater mussels (Unionoida) following the zebra mussel (Dreissena polymorpha) invasion, J. Animal Ecol. 67: 613-619.
[13] Ricciaedi, A. and Rasmussen, J.P., 1999, Extinctions rates of North American freshwater fauna, Conserv. Biol. 13: 1220-1222.
[14] ฐิติมา จิโนวัฒน์ และณัฐกิตทิ์ โตอ่อน, 2550, การติดตามและประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ หันตรา, พระนครศรีอยุธยา.
[15] จุฑามาศ จิวาลักษณ์, พิชิต พรหมประศรี และอรภา นาคจินดา, 2550, หอยกาบน้ำจืดของไทย, กลุ่มงานวิจัยความหลากลายทางชีวภาพสัตว์น้ำจืด สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรประมงน้ำจืด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกรมประมง, กรุงเทพฯ, 50 น.
[16] จุฑามาศ จิวาลักษณ์, มณฑิรา เปี่ยมทิพย์มนัส และอรภา นาคจินดา, 2550, หอยกาบน้ำจืดเศรษฐกิจของไทย, เอกสารวิชาการฉบับที่ 8/2550, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรประมงน้ำจืด กรมประมง, กรุงเทพฯ, 123 น.
[17] Brandt, R.A.M., 1974, The non-marine aquatic Mollusca of Thailand, Archiv für Molluskenkunde, 105: 1-423.
[18] Upatham, E.S., Sornmani, S., Kittikoon, V., Lohachit, C. and Burch, J.B., 1983, Identification key for fresh- and brackish-water snails of Thailand, Malacol. Rev. 16: 107-32.
[19] Buchanan, J.B., 1971, Sediment Analysis, pp. 32-52, In Holme, N.A., McIntyre, A.D. (Eds.), Methods for the Study of Marine Benthos, Blackwell Science, Oxford.
[20] Clarke, K.R. and Warwick, R.M., 1994, Change in Marine Communities: An Approach to Statistical Analysis and Interpretation, Plymouth, Plymouth Marine Laboratory, Primer-E, Ltd., United Kingdom.
[21] Ludwig, A.J. and Reynolds, J.F., 1986, Statistical Ecology: A Primer on Methods and Computing, John Wiley and Sons Inc., New York.
[22] ทิพย์นันท์ งามประหยัด, 2542, ความชุกชุม ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินและคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 121 น.
[23] บังอร แถวโนนงิ้ว, 2539, คุณภาพน้ำ ชนิด และปริมาณของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำแม่กลอง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, กรุงเทพฯ, 142 น.
[24] วฤชา กาญจนอักษร และศรัณย เพ็ชรพิรุณ, 2549, สัตว์หน้าดินขนาดใหญ่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง, น. 44-51, ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 : สาขาประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[25] กรมควบคุมมลพิษ, 2558, รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.ศ. 2557, กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ, 190 น.
[26] Pir, Z., Tali, I., Mudgal, L.K. and Seddique, A., 2010, Distribution of Molluscans in Narmada River, India. J. Chem. Biol. Phys. Sci. 2: 1407-1412.
[27] Wijeyaratne, W.M.D.N. and Bellanthudawa, B.K.A., 2017, Assessment of suitability of macrobenthic mollusc diversity to monitor water quality and shallow sediment quality in a tropical rehabilitated and non-rehabilitated wetland system, Int. J. Aquat. Biol. 5(2): 95-107.
[28] Martins, R.T., Stephan, N.N.C. and Alves, R.G., 2008, Tubificidae (Annelida: Oligo-chaeta) as an indicator of water quality in an urban stream in Southeast Brazil, Acta Limnol. Bras. 20: 221-226.