ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความร้อนที่มีต่อเกษตรกรและพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความร้อนที่มีต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในประเทศไทย การวิจัยเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์นี้ได้เก็บข้อมูลในกลุ่มเกษตรกร จำนวน 46 คน และพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 21 คน ในจังหวัดปทุมธานี กาญจนบุรี และสมุทรปราการ โดยวัดอุณหภูมิเวทบัลบ์โกลบ (WBGT) อุณหภูมิกระเปาะแห้ง อุณหภูมิโกลบ อุณหภูมิกระเปาะเปียก ความชื้นสัมพัทธ์ และดัชนีความร้อน (HI) ตลอด 10 วัน ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลการทำงาน การสัมผัสความร้อนขณะทำงาน ผลกระทบทางสุขภาพจากความร้อน ผลกระทบที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และการป้องกันภาวะเครียดจากความร้อน โดยได้มีการบันทึกประจำวันเกี่ยวกับระยะเวลาพัก วิธีบรรเทาความร้อน การดื่มน้ำ อาการผิดปกติจากความร้อน ปริมาณผลผลิตที่ทำได้ อัตราการเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกายระหว่างทำงาน ผลการวิจัยพบว่าดัชนี WBGT ในพื้นที่โรงงานเหล็ก นาข้าว และไร่อ้อย มีความแตกต่างกันอยู่ที่ 30.3, 26.7 และ 24.5 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ดัชนีความร้อนเฉลี่ยของกลุ่มพนักงานโรงงานเหล็ก กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผู้ปลูกอ้อย คือ 42.6, 33.6 และ 29.7 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ทั้งนี้ดัชนีความร้อนของกลุ่มพนักงานโรงงานเหล็กมีค่ามากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส จัดว่าอยู่ในระดับอันตรายหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกาย สิ่งที่น่าสนใจ คือ ปริมาณผลผลิตที่ทำได้ในช่วงฤดูหนาว เมื่อเทียบกับฤดูร้อนในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพบว่ามีค่าลดลงร้อยละ 9.68 งานวิจัยอนาคตควรจะเน้นความสำคัญในเรื่องอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงานที่มีความหลากหลาย และกำหนดนโยบายที่จะนำไปสู่การลดค่าดัชนีความร้อนในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
คำสำคัญ : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ; การสัมผัสความร้อน; ดัชนีความร้อน; ภาวะเครียดจากความร้อน
Article Details
References
[2] IPCC, 2001, Climate Change 2001: The Scientific Basis, Contribution of Working Group I to the Third Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [Houghton, J.T., Ding, Y., Griggs, D.J., Noguer, M., van der Linden, P.J., Dai, X., Maskell, K. and Johnson, C.A. (Eds.)], Cambridge University Press, Cambridge, United Kingdom and New York, NY, USA, 881 p.
[3] ศุภกร ชินวรรโณ, วิริยะ เหลืองอราม, เฉลิมรัฐ แสงมณี, จุฑาทิพย์ ธนกิตติ์ เมธาวุฒิ, 2551, การจำลองสภาพภูมิอากาศอนาคตสำหรับประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.
[4] ISO, 1989, Hot environment: Estimation of the heat stress on working man, based on the WBGT-index (wet bulb globe temperature), ISO Standard 7243, Geneva: International Standards Organization.
[5] Heat Index, National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA), 2017, Available Source: http://www.nws.noaa.gov/os/heat/heat_index.shtml, May 29, 2017.
[6] Horie, S., 2013, Prevention of heat stress disorders in the workplace, JMAJ. 56: 186-192.
[7] Ryan, S.M., Goldberger, A.L., Pincus, S.M., Mietus, J. and Lipsitz, L.A., 1994, Gender- and age-related differences in heart rate dynamics: Are women more complex than men?, J. Am. Coll. Cardiol. 24: 1700-1707.
[8] Grucza, R., 1983, Body heat balance in man subjected to endogenous and xogenous heat load, Eur. J. Appl. Physiol. Occup. 51: 419-433.
[9] กรมอนามัย, 2560, การพัฒนาเกณฑ์และระบบกลไกการเตือนภัยด้านสุขภาพจากความร้อน สำหรับประเทศไทย, กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.