การประยุกต์ใช้ระบบบริหารสินค้าคงคลังสำหรับวัตถุดิบที่เน่าเสียได้ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตปลากระป๋อง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้หลักการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับวัตถุดิบที่เน่าเสียได้ในโรงงานผลิตปลากระป๋อง เพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลัง งานวิจัยนี้มีขั้นตอนการดำเนินงานประกอบไปด้วย (1) การวิเคราะห์แบบเอบีซีในการคัดเลือกวัตถุดิบในกลุ่มเอเพื่อนำมาศึกษา (2) การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด จุดสั่งซื้อ และปริมาณสินค้าคงคลังสำรองจากข้อมูลของบริษัท ในกรณีที่ต้นทุนการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นด้วยอัตราคงที่และไม่คงที่ และ (3) การจำลองการสั่งซื้อวัตถุดิบจริงในปี พ.ศ. 2551 ผลจากการวิจัยพบว่าการบริหารจัดการวัตถุดิบคงคลังด้วยการสั่งซื้ออย่างประหยัด ในกรณีที่ต้นทุนการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นด้วยอัตราคงที่และไม่คงที่ มีต้นทุนที่น้อยกว่าวิธีเดิมร้อยละ 22.10 และ 28.24 ตามลำดับ และการสั่งซื้ออย่างประหยัดในกรณีที่มีต้นทุนในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นด้วยอัตราไม่คงที่ สามารถลดต้นทุนได้มากกว่ากรณีที่ต้นทุนในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นด้วยอัตราคงที่ประมาณร้อยละ 6.14 หรือคิดเป็นมูลค่าสี่ล้านบาทต่อปี ดังนั้นจึงควรนำการสั่งซื้ออย่างประหยัด ในกรณีที่ต้นทุนการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นด้วยอัตราไม่คงที่ไปใช้กับวัตถุดิบที่เน่าเสียได้ในกลุ่มเอต่อไป
คำสำคัญ : การวิเคราะห์แบบเอบีซี; การสั่งซื้ออย่างประหยัด; ระบบการบริหารสินค้าคงคลัง; วัตถุดิบที่เน่าเสียได้
Abstract
This research aims to apply the concept of inventory management system for perishable raw materials in canned fish factory to reduce total inventory cost. The research procedures consist of three steps as follows; (1) ABC analysis for selection of raw materials in class A, (2) calculation of economic order quantity (EOQ), reorder point (ROP), and safety stock (SS) for EOQ with linear and nonlinear holding costs from actual data, and (3) simulation of the purchasing plan in year 2008. Results from the simulation indicates that, when compared to original method, EOQ with linear and nonlinear holding costs can reduce the total cost by 10.82 and 17.95 percents, respectively. In addition, the total cost of EOQ with nonlinear holding cost is lower than the total cost of EOQ with linear holding cost by seven percents, or five million baht per year. In summary, EOQ with nonlinear holding cost should be applied for the perishable raw materials in class A.
Keywords: ABC analysis; economic order quantity; inventory management system; perishable goods