ผลการใช้แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลเด็กต่อการลดจำนวนครั้งของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กที่ศูนย์เด็กเล็กแห่งหนึ่ง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลเด็กเพื่อลดจำนวนครั้งของการติดเชื้อระบบทาง เดินหายใจในเด็กที่ศูนย์เด็กเล็กแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กที่ให้การดูแลเด็กอายุระหว่าง 1-3½ ปี เริ่มดำเนินการวิจัยในเดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลเด็กเพื่อลดจำนวนครั้งของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการประยุกต์กระบวนการใช้ผลงานวิจัยตามกรอบของไอโอวาและผ่านผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบแนวปฏิบัติทั้งหมด 4 ท่าน ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวได้กำหนดบทบาทผู้ดูแลเด็กในการป้องกันการติดเชื้อในเด็กปฐมวัย ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็ก การวิจัยครั้งนี้ประเมินผลจากจำนวนครั้งของการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็ก จากผลทดลองพบว่าเด็กที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมีค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มที่ให้การดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอให้ศูนย์เด็กเล็กในหน่วยงานต่าง ๆ นำแนวปฏิบัติไปใช้กับผู้ดูแลเด็กอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันปัญหาความเจ็บป่วยของเด็กจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในศูนย์เด็กเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติ; ผู้ดูแลเด็ก; การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ; ศูนย์เด็กเล็ก
Abstract
Respiratory tract infections frequently occur among children in child care centers. This study investigated the effects of a guideline for caregivers on decreasing the respiratory tract infection rate of children in a child care center. The sample consisted of caregivers that provided care for children aged 1-3½ years. The data was collected from the March to May 2012 period. The research instruments used in this study were a practice guideline and the instruments used to collect data for the surveillance of respiratory tract infections in children. This guideline was developed along the framework of the IOWA Model for evidence-based practice to promote quality care and was validated by four experts. The practice guideline was composed of the steps that caregivers take in providing care for children. The caregivers that used this guideline had to have knowledge and skills in how to control and prevent respiratory tract infection in early childhood. The other tool (the instruments used to collect the data) was used to collect information on the respiratory tract infections of the children. The study’s results revealed that the respiratory tract infections of the children in the experimental group decreased at a significant level of .001 (p < 0.001) and the respiratory tract infections of the experimental group were less than those of the control group at a significant level of .001 (p < 0.001). This study suggests that, it would be useful for caregivers in other child care centers to practice as a guideline in order to effectively prevent respiratory tract infection rate of children in child care centers.
Key words: a practice guideline; caregivers; respiratory tract infection rate; childcare center