การวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศในเยาวชนไทย

Main Article Content

มรรยาท รุจิวิชชญ์
สารรัตน์ วุฒิอาภา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศในเยาวชนไทย เปรียบเทียบและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ/ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศในเยาวชนไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวนทั้งสิ้น 6;485 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศ ได้แก่ ตัววัยรุ่น ครอบครัว เพื่อน และสื่อและแหล่งข้อมูล (2) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความรู้ ความเชื่อ/ทัศนคติ และการปฏิบัติตน พบว่า (2.1) ความรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาของเยาวชนและสถานภาพสมรสของบิดามารดา (2.2) ความเชื่อ/ทัศนคติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.001 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามเกรดเฉลี่ย การมีโรคประจำตัว และจำนวนพี่น้อง (2.3) ด้านการปฏิบัติตนไม่มีความแตกต่างกัน (3) การเปรียบเทียบความรู้ ความเชื่อ/ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศ พบว่าคะแนนความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ความเชื่อ/ทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และการปฏิบัติตนอยู่ในระดับปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ แต่บ่อยครั้ง (4) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ/ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศ พบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.36; 0.34; 0.29) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักในเรื่องเพศ การคุมกำเนิดกับเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การสร้างความเท่าเทียมทางเพศ หรือการล่วงละเมิดทางเพศ

คำสำคัญ : พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศ; เยาวชนไทย

 

Abstract

The purposes of this research were to study the factors related to sexual health promoting behaviors in Thai youths; and to compare the Thai youth’s knowledge; belief/attitude; and practice in sexual health promotion. The sample consisted of 6;485 students selected by multi-stage random sampling. Data were analyzed by t-test and Pearson product moment correlation. Major findings were: (1) there were factors related to sexual health promoting behaviors: youth; family; peer; and mass media factors (2) there were statistically significant differences at p < 0.001; 0.05 levels respectively of the Thai youth’s knowledge which were different in youth education and parent marital status. The Thai youth’s belief/attitude were statistically significant differences at p < 0.01; 0.001 levels respectively in accordance with grade point average; personal illness; and number of siblings. There was no statistically significant difference of Thai youth’s practice in sexual health promotion mean scores. The findings pointed out that further research and more in-depth study of birth control and safe sex are recommended.

Key words: sexual health promoting behavior; Thai youth

Article Details

Section
บทความวิจัย