การปรับตัวต่อความเครียดของเด็กป่วยโดยใช้การเล่น

Main Article Content

วิภาดา แสงนิมิตรชัยกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่เด็ก การต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยในโรงพยาบาล และการได้รับหัตถการที่เจ็บปวด ล้วนเป็นบ่อเกิดของความเครียด ซึ่งความเครียดที่ยิ่งใหญ่ของเด็ก คือ การต้องแยกจากครอบครัว การสูญเสียความสามารถในการควบคุมตนเอง กลัวการบาดเจ็บของร่างกายและความเจ็บปวด ดังนั้นการลดความเครียดของเด็กเมื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลจึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเด็ก การเล่นเป็นหนึ่งกิจกรรมที่มีอิทธิพลและมีประสิทธิภาพอย่างมากในการช่วยลดความเครียดของเด็กป่วย การเล่นในเด็กป่วยจำแนกเป็นสามประเภท คือ การเล่นเพื่อนันทนาการ การเล่นเพื่อการรักษา และการเล่นเพื่อการบำบัด โดยหลักการจัดการเล่นสำหรับเด็กป่วย ควรพิจารณาตามพัฒนาการของเด็ก อาการเจ็บป่วย และปัญหาของเด็ก

คำสำคัญ : ความเครียด; เด็กป่วย; การเล่น

Abstract

Hospitalization is considered a stressful experience for the children. This is because of the unfamiliar environment and some pain caused by the treatment process. The major stresses for hospitalized children involve separated from their parents; loss of control; and the fear of body injury and pain. Reducing stress in hospitalized children is thus necessary. For the child; play is one of the most powerful and effective means of stress reduction. Play in hospitalized children can be divided into three types: (1) recreation play (2) therapeutic play and (3) play therapy. Principles for play in hospitalized children should consider the child's development; illness and problems of children.

Key words: stress; hospitalized children; play

Article Details

Section
บทความวิชาการ