การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนลามินาร์สำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

จิณพิชญ์ชา มะมม

Abstract

บทคัดย่อ

การเรียนรู้โดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความแตกต่างของศักยภาพของแต่ละบุคคล การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนลามินาร์สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 7 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมการ (2) การออกแบบบทเรียน ที่ใช้แนวคิดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน (3) การเขียนผังงาน (4) การสร้างสตอรี่บอร์ด (5) การสร้างโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมอโดบี่แคปติเวท 4.0 มีรูปแบบ แบบการสอน แบบสถานการณ์จำลอง และแบบการทดสอบ (6) การผลิตเอกสารประกอบบทเรียน และ (7) การประเมินและแก้ไขบทเรียนแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนลามินาร์ ข้อบ่งชี้การผ่าตัด หลักการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและวิธีการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนลามินาร์ หลังจากนั้นนำไปทดสอบหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน ผลการทดสอบประสิทธิภาพเท่ากับ 85/87 ดังนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ผ่านเกณฑ์ 80/80 และความคิดเห็นของผู้เรียนในด้านเนื้อหา วิธีการนำเสนอ วิธีการใช้งาน และวิธีการสอน อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นนี้สามารถช่วยให้นักศึกษาพยาบาลใช้พัฒนาหรือทบทวนความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนลามินาร์ เพื่อนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน; การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนลามินาร์; นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

Learning by using computer assisted instruction (CAI) is one method which means to enhance learning, based on the difference of individual capability. The purposes of this study were to develop and test the CAI efficiency on nursing care for patients’ underwent laminectomy for nursing students. The investigator developed the CAI utilizing 7 steps; (1) CAI preparation, (2) the CAI instruction design, based on the concept of the interaction between learner and lesson, (3) develop flowchart lesson 4) storyboard creation, (5) program lesson development, using Adobe Captivate version 6, including tutorial, simulation, and test formats, (6) supporting materials productions, and (7) CAI evaluation and revision. It was then tried out by individuals and group of nurse students. The contents of CAI were composed of principle of laminectomy, nursing care, and rehabilitation for patient underwent laminectomy. After that, the efficiency was tested by third year 30 nurse students from Faculty of Nursing, Thammasat University. The process/outcome efficiency was 85/87 which achieved 80/80 efficiency. Subjects rated CAI were good and very good regarding the information, presentation, applicability, and instruction. It is suggested that students were able to acquire knowledge in nursing care of patients’ underwent laminectomy by the computer assisted instruction.

Keywords: development; computer assisted instruction; laminectomy; nurse students

Article Details

Section
บทความวิจัย