ผลของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาท้องถิ่นของชุดดินปากช่องต่อการเจริญเติบโตและการดูดใช้ฟอสฟอรัสของข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดหวาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ผลของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาท้องถิ่นต่อการเจริญเติบโตและการดูดใช้ฟอสฟอรัสของข้าวโพด (Zea mays L.) 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์ KBSC 605, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์สุวรรณ 4452 และข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรีย์ 2 ประเมินโดยปลูกข้าวโพดในชุดดินปากช่องที่อบฆ่าเชื้อร่วมกับการไม่ใส่และใส่ mixed soil inoculum ของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาท้องถิ่นที่พบในชุดดินปากช่อง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาเพิ่มน้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพิ่มขึ้น 35 และ 120 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยังสามารถเพิ่มการดูดใช้ฟอสฟอรัสในส่วนเหนือดินของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 67 และ 134 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาไม่มีผลต่อน้ำหนักแห้งและการดูดใช้ฟอสฟอรัสของข้าวโพดฝักอ่อน ส่วนการเข้าอยู่อาศัยในรากของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาพบมากที่สุดในข้าวโพดหวาน และน้อยที่สุดในข้าวโพดฝักอ่อน และการประเมินความหนาแน่นของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาในดินโดยวิธี bioassay ที่ใช้ข้าวฟ่างเป็นพืชอาศัย พบว่าการเข้าอยู่อาศัยในรากข้าวฟ่างของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาจากดินที่ใช้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดหวานมีมากกว่าข้าวโพดฝักอ่อนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ฟอสฟอรัสของข้าวโพดทั้ง 3 สายพันธุ์ พบว่าข้าวโพดฝักอ่อนมีประสิทธิภาพการใช้ฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าข้าวโพดที่มีประสิทธิภาพการใช้ฟอสฟอรัสต่างกันจะมีผลต่อการพึ่งพาต่อเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาของข้าวโพดทั้งด้านการเจริญเติบโต (น้ำหนักแห้ง) และการดูดใช้ฟอสฟอรัสด้วย โดยพบว่าข้าวโพดหวานซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้ฟอสฟอรัสต่ำที่สุด แต่มีการพึ่งพาต่อเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซาสูงกว่าข้าวโพดสายพันธุ์อื่น
คำสำคัญ : ข้าวโพด; เชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซา; ชุดดินปากช่อง
Abstract
Effects of indigenous arbuscular mycorrhizal (AM) fungi on growth and phosphorus (P) uptake of corn (Zea mays L.) were evaluated in CRD with 4 replications. Treatments were 3 economical varieties of corn from National Corn and Sorghum Research centre of Thailand; babycorn (KBSC 605), fieldcorn (Suwan 4452) and sweetcorn (Insee 2). These corns were grown in pots containing sterilized Pak Chong soil series without or with mixed soil inoculum of indigenous AM fungi. The results showed that AM inoculation significantly increased shoot dry weights of fieldcorn and sweetcorn by 35 % and 120 % compared to non AM inoculation, respectively. AM inoculation also increased P uptakes in shoot of fieldcorn and sweetcorn by 67% and 134 %, respectively. However, AM inoculation did not affect on dry weight and P uptake in shoot of babycorn. AM colonization was highest in sweetcorn, and lowest in babycorn. Mycorrhizal development in soil was examined by bioassay using sorghum as host plant. There were move arbuscular mycorrhizal fungi in fieldcorn and sweetcorn than in babycorn. By contrast, efficiency of P utilization was higher in babycorn than in fieldcorn and sweetcorn. These results indicate that corn varieties have differed in their efficiency of P utilization, resulting in different responding to AM fungi. Corn variety which is low efficiency of P utilization could obtain benefits of AM fungi.
Keywords: arbuscular mycorrhizal fungi; corn; Pak Chong soil series