บทบาทพยาบาลกับแผลกดทับ : ความท้าทายในการป้องกันและการดูแล

Main Article Content

จิณพิชญ์ชา มะมม

Abstract

บทคัดย่อ

แผลกดทับเป็นการบาดเจ็บบริเวณผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนังที่เกิดจากการกดทับบริเวณปุ่มกระดูก (เช่น บริเวณก้นกบหรือส้นเท้า) และแรงกดทับจากภายนอก (เช่น วัสดุรองรับหรือเก้าอี้นั่ง) เป็นปัญหาที่สำคัญหนึ่งในโรงพยาบาลที่มักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจผู้ป่วย เช่น อาการปวดทุกข์ทรมาน คุณภาพชีวิตลดลง ระยะเวลารักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น ค่ารักษาพยาบาลสูง อัตราการตายเพิ่มขึ้น บุคลากรทีมผู้ดูแลมีภาระงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นภาระการดูแลและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของครอบครัว การป้องกันและการจัดการแผลกดทับเป็นบทบาทที่สำคัญในการให้การพยาบาลผู้ป่วย เพื่อการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและป้องกันการเพิ่มระดับของแผลกดทับ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลจากทีมสุขภาพโดยเฉพาะพยาบาลที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและให้ความรู้แก่ตัวผู้ป่วยเพื่อช่วยให้สามารถดูแลตนเองและตระหนักเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อมีแผลกดทับ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ผู้ดูแล/ครอบครัว เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเกิดขึ้นในครอบครัว บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับความหมายและกลไกการเกิดแผลกดทับ การแบ่งระดับแผลกดทับ ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของแผลกดทับ รวมถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ในการป้องกันและจัดการกับแผลกดทับ ซึ่งองค์ความรู้จากการวิจัยช่วยให้มีการพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย/ครอบครัว เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและลดปัญหาจากการดูแลในระยะยาวที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยต่อไป

คำสำคัญ : บทบาท; พยาบาล; แผลกดทับ; การป้องกัน; การจัดการ

Abstract

Pressure ulcers (PUs) are areas of injury that can develop when there is prolonged compression of skin or underlying tissue between a bony prominence (such as the sacrum or heels) and an external surface (such as a mattress or chair seat). PUs in elderly hospitalized adults can have significant negative effects in terms of pain; quality of life; length of hospital stay; cost of care; medical complications; mortality; work-load of the nursing staff and caregivers. Preventing and managing pressure ulcers are an important aspect of essential nursing care that begins with an assessment of the risks associated with their development. Although the prevention of pressure ulcers is a multidisciplinary responsibility; nurses play a major role to play in monitoring the success of strategies to reduce avoidable pressure ulcers and to provide accountability and maintain motivation. This article discusses the etiology classification and risk factors of pressure ulcers especially the new study and research about pressure ulcers nursing care. Research also suggests that when the health care providers are functioning as a team; the incidence rates of pressure ulcers can decrease. Thus; pressure ulcers and their prevention should be considered a patient safety goal which benefits the nursing practice as a whole in the future.

Key words: nurse; role; pressure ulcer; prevent; management

Article Details

Section
บทความวิชาการ