ความมีชีวิตของเรณูในดอกพระจันทร์ (Ipomoea alba L.)

Main Article Content

เยาวพา จิระเกียรติกุล
ภาณุมาศ ฤทธิไชย
รภีภร กลิ่นกัน
ศิริพร เพ็ดตะกั่ว

Abstract

บทคัดย่อ

ศึกษาความมีชีวิตของเรณูและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเรณูของดอกพระจันทร์ (Ipomoea alba L.) โดยปลูกต้นดอกพระจันทร์ที่แปลงทดลองภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เก็บเรณูของดอกพระจันทร์มาทดสอบในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึง มกราคม พ.ศ. 2554  ทดสอบความมีชีวิตของเรณูด้วยวิธีทดสอบ 2 วิธี คือ in vitro germination test และ tetrazolium test จากการทดลองพบว่าไม่สามารถชักนำให้หลอดเรณู (pollen tube) งอกบนอาหารเพาะเลี้ยงได้ด้วยวิธี in vitro germination test อย่างไรก็ตาม เรณูย้อมติดสีแดงได้ดีเมื่อใช้วิธี tetrazolium test จากการทดสอบด้วยวิธี tetrazolium test พบว่าอัตราความมีชีวิตของเรณูจากอับเรณูแต่ละอับในดอกเดียวกันและจากดอกต่างกันในวันที่ดอกบานมีค่ามากกว่า 90 % และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าควรเก็บเรณูจากดอกบานที่เวลา 18.00 น.

คำสำคัญ : ดอกพระจันทร์; ความมีชีวิตของเรณู; เรณู; ย้อมสี

 

Abstract

Pollen viability and collecting time of moonflower (Ipomoea alba L.) were investigated. The Moonflower plants were grown in the experimental plots at the Department of Agricultural Technology, Faculty of Science and Technology, Thammasat University, Rangsit centre. Pollen viability was examined during December 2010 and January 2011. The two selected tests, in vitro germination test and tetrazolium staining test, have been done to test pollen viability. It was found that using in vitro germination test, the pollen tubes did not germinate on the medium. However, pollen grains turned deep red when tetrazolium test was applied. With tetrazolium test, the pollen viability of different anthers and flowers on the flowering day was higher than 90 % which were not significantly different among the treatments.  In addition, the optimum time to collect pollen was at 6 pm.

Keywords: Moonflower; Ipomoea alba; pollen viability; pollen; tetrazolium test

Article Details

Section
บทความวิจัย