กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลนครปฐม

Main Article Content

สุทัศน์ บุญยงค์
ถวัลย์ ฤกษ์งาม

Abstract

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลของรัฐมีนโยบายการบริหารงานเน้นการแข่งขันด้านบริการ ในระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา  โรงพยาบาลนครปฐมมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในขณะที่มีบุคลากรเท่าเดิม ดังนั้นจึงมีการทบทวนและปรับปรุงกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลนครปฐม เพื่อให้การปฏิบัติงานทางห้องปฏิบัติการเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการและสามารถรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้นำการบริหารจัดการตามแนวคิดแบบการรวมเครื่องมาใช้ โดยยึดหลักกระบวนการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เน้นคุณภาพของกระบวนการและผลการทดสอบควบคู่กับกระบวนการบริการที่เป็นหัวใจสำคัญนำไปสู่การประสบผลสำเร็จ การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2554 โดยเก็บข้อมูลเฉพาะห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกและภูมิคุ้มกันวิทยา ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการให้บริการเพิ่มขึ้น ซึ่ง แสดงจากรายการตรวจวิเคราะห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ค่าน้ำยาและค่าแรงลดลงร้อยละ 12.3 ต้นทุนก่อนปรับปรุงปี พ.ศ. 2550 อยู่ที่ 6.96 บาทต่อการทดสอบ หลังปรับปรุงปี พ.ศ. 2554 ต้นทุนอยู่ที่ 6.77 บาทต่อการทดสอบ และยังสามารถลดระยะเวลารอคอยได้ร้อยละ 52.83 โดยก่อนปรับปรุงปี พ.ศ. 2550 อยู่ที่ 44.1 นาที และหลังปรับปรุงปี พ.ศ. 2554 ลดลงเหลือ 23.3 นาที นอกจากนี้ความเสี่ยงของอุบัติการณ์ลดลงร้อยละ 71.1 อย่างมีนัย สำคัญ (p<0.0001) กำลังคนปี พ.ศ. 2550 ก่อนปรับปรุงใช้ 9 คน หลังปรับปรุงปี พ.ศ. 2554 ลดลงเหลือ 5 คน นอกจากนั้นหลังปรับปรุงทำให้มีพื้นที่ปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น โดยพื้นที่การทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 และพื้นที่สนับสนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 แนวคิดรวมเครื่องที่นำมาใช้นี้สามารถลดระยะเวลารอคอย ลดค่าใช้จ่ายน้ำยาและค่าแรง ลดจำนวนบุคลากร ซึ่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ : กระบวนทัศน์ใหม่; การบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ

 

Abstract

All government hospitals have been competed in customer satisfy policy. In the past five years; the number of out patients from laboratory unit of Nakhon Pathom hospital have been increased whereas the number of staff remains the same resulting in the need of consolidation concept applying. This concept emphasize the quality of processing; resulting and service. In this study; the data were collected at clinical chemistry and immunology section from 2007-2011. The results showed that the number of testing increased at 16.8%. The budget of reagent and staff salary was reduced 16.8% and 12.3%; respectively. Testing cost from 2007 was decreased from 6.99 to 6.77 baths in 2011. In addition the waiting time for laboratory report was reduced from 44.1 to 23.3 minutes. Moreover; the risk and processing incidence was decreased up to 71.1% demonstrating a significant decrease (p<0.0001). The number of service personnel was decreased from 9 to 5 persons. Furthermore; the working area and supporting area were increased 65% and 35%; respectively. From the study of consolidation concept; it demonstrated that this concept was increased the number of analytical testing; reduced the waiting time; reagent budget; staff salary; and the number of staff in charge. It can be improved working quality and efficiency of laboratory management in laboratory unit of Nakhon Pathom hospital.

Keywords: new paradigm; laboratory management

Article Details

Section
บทความวิจัย