โปรแกรมควบคุมคุณภาพการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่อง POCT : กรณีศึกษาในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

อัญชลี คุ้มภัย
ถวัลย์ ฤกษ์งาม

Abstract

บทคัดย่อ

ถึงแม้ว่าการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่อง POCT จะทำได้ง่าย ในทุกสถานที่ แต่พบว่ามีข้อจำกัดของการตรวจวัดในด้านความชำนาญของผู้ใช้และความพร้อมของเครื่องมือ ทำให้มีผลต่อความน่าเชื่อถือของผลการตรวจวัด ดังนั้นจึงได้ศึกษาแนวทางการควบคุมคุณภาพการการปฏิบัติงานการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่อง POCT ที่เหมาะสม ในเครือข่ายบริการสุขภาพ วิธีการศึกษาทำโดยจัดทำคู่มือบริหารจัดการ POCT อบรมและประเมินความรู้ ทำการควบคุมคุณภาพภายใน (IQC) ประเมินคุณภาพจากองค์กรภายนอก (EQA) โดยใช้ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 22870 เป็นกรอบในการศึกษา ในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสังเกต ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002) ผลของการประเมิน IQC พบว่าผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องร้อยละ 100 ในหัวข้อเทคนิคการทำ IQC การบันทึก การอ่านและการประเมินผลจากกราฟควบคุมคุณภาพ ยกเว้นวิธีการหยดสารควบคุมคุณภาพปฏิบัติไม่ถูกต้องร้อยละ 6.7 ตอบคำถามการประเมินผล IQC ไม่ถูกต้องร้อยละ 40 และผลการประเมินหลังการอบรมกำหนดให้ทำ IQC พบว่ามีการทำ IQC ไม่สม่ำเสมอร้อยละ 53.4 ทำ IQC สม่ำเสมอร้อยละ 33.3 และยังไม่ได้ทำ IQC ร้อยละ 13.3 ผลการประเมิน EQA พบว่าค่า MVIS มีผลการประเมินเป็น very good quality จำนวน 13 เครื่อง และ good quality จำนวน 2 เครื่อง จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้มีโปรแกรมการควบคุมคุณภาพการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่อง POCT แนวทางปฏิบัติงานการควบคุมคุณภาพ และร่างแนวทางการบริหารจัดการ POCT ที่เหมาะสมในเครือข่ายบริการสุขภาพ

คำสำคัญ : การตรวจน้ำตาลในเลือด; point of care testing (POCT); การควบคุมคุณภาพภายใน; การประเมินคุณภาพจากองค์กรภายนอก; การบริหารจัดการ POCT

 

Abstract

The simple and convenient method to measure blood glucose is point of care testing (POCT). However; limitation of measurement causes by personnel and devices performance leading to non reliable result. Therefore; the purpose of this study is to evaluate suitable quality control of blood glucose using POCT method in health service network. POCT management document; personnel training and assessing; Internal quality control (IQC) and external quality assessment (EQA); is prepared using ISO 15189 and ISO 22870 requirements as a concept in this study. This study conducted at Nongmung district health service network in Lopburi province. The data are collected by using questionnaire and monitoring. The results show that average score of post-test were higher than pre-test (p-value = 0.002). IQC assess by monitoring found that participants performance corrected 100% in IQC technical; record and quality control chart reading and assessing. However; the result of participants performance of control material applied was uncorrected 6.7%; and the answer IQC assessment was 40% uncorrected. After IQC implementation and participants performance was assessed; it was found that the percentage of participants that did not continual performed IQC assessment; performed continual and did not performed were 53.4%; 33.3% and 13.3%; respectively. The EQA assessment of MVIS found that 13 devices were very good quality and the other 2 devices were good quality. Taken together; this study has developed the quality control program of blood glucose for POCT; suitable quality control work flow and management procedure for using in health service network.

Keywords: point of care testing (POCT); internal quality control (IQC); external quality assessment (EQA); quality management

Article Details

Section
บทความวิจัย