การใช้กากตะกอนน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปถั่วลิสงเพื่อปรับปรุงดินสำหรับปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้กากตะกอนน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปถั่วลิสงเพื่อปรับปรุงดินสำหรับปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 ทำการทดลองโดยใช้กากตะกอนน้ำเสียผสมกับดิน ตามอัตราส่วนกากตะกอนน้ำเสีย 0, 12, 24, 36 และ 48 kg m-2 ดินที่ใช้มาจากแปลงนา 2 แห่ง คือ แปลงนาในจังหวัดสมุทรปราการ และแปลงนาในจังหวัดสุพรรณบุรี พันธุ์ข้าวที่ใช้ในการปลูก คือ ปทุมธานี 80 ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวประมาณ 113 วัน นับจากวันเพาะกล้า ปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ สมบัติทางเคมีของกากตะกอนน้ำเสีย และชนิดของดิน (ดินสมุทรปราการ และดินสุพรรณบุรี) ทั้งก่อนและหลังการปลูกข้าว หลังการเก็บเกี่ยวทำการศึกษาปริมาณโลหะหนักในเมล็ดและลำต้น ความสูงของลำต้น น้ำหนักเมล็ด และผลผลิต พบว่าเมื่อใส่กากตะกอนน้ำเสียทำให้ดินสมุทรปราการและดินสุพรรณบุรีก่อนการปลูกข้าว ในทุกชุดการทดลองสมบัติทางเคมี ด้านอินทรียวัตถุไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ค่าพีเอช ค่าการนำไฟฟ้า ความชื้น ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช รวมทั้งปริมาณโลหะหนัก (Fe, Zn, Cu และ Mn) เพิ่มขึ้น แต่หลังจากปลูกข้าว ค่าการนำไฟฟ้า ความชื้น ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนปลูกข้าว ความเข้มข้นของ Cu และ Mn ในดินมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูกข้าว ปริมาณโลหะหนักทั้งหมดในเมล็ดและลำต้นของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 ที่ปลูกในดินทั้ง 2 แห่ง มีค่าความเข้มข้นอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยกเว้น Fe พบว่าในส่วนของต้นข้าวมีความเข้มข้นเกินมาตรฐานโลหะหนักที่ยอมให้มีได้ในพืช ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 ที่ปลูกในดินสมุทรปราการมีการเจริญเติบโตสูงที่สุดเมื่อใส่กากตะกอนน้ำเสีย 24 kg m-2 และในดินสุพรรณบุรีมีการเจริญเติบโตสูงที่สุดเมื่อใส่กากตะกอนน้ำเสีย 36 kg m-2 เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักข้าว 1,000 เมล็ด ที่ปลูกในดินทั้ง 2 ชนิด นั้น ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ข้าวที่ปลูกในดินสมุทรปราการให้ผลผลิตสูงที่สุดเมื่อใส่กากตะกอนน้ำเสีย 12 kg m-2 ส่วนข้าวที่ปลูกในดินสุพรรณบุรีให้ผลผลิตสูงที่สุดเมื่อใส่กากตะกอนน้ำเสีย 36 kg m-2
คำสำคัญ : กากตะกอนน้ำเสีย; โลหะหนัก; ข้าว (ปทุมธานี 80); โรงงานแปรรูปถั่วลิสง; การปรับปรุงดิน
Abstract
The aim of this research was studied the utilization of wastewater sludge from peanut food factory for improving soil for planting rice (Pathumthani 80). Paddy soils from Samutprakarn and Suphanburi were use in this experiment, supplemented with vary concentration of wastewater sludge (0, 12, 24, 36 and 48 kg m-2). Pathumthani 80 planted for 113 days before harvesting. Chemical characteristics components in soil and wastewater sludge were analyzed before and after planting. After harvesting, the concentration of heavy metals in grain and stem, plant height, yield and grain yield were analyzed. It was found that the value of pH, EC, moisture, total N, available P and K, total content of Fe, Zn, Cu and Mn in each treatments increased before planting, except for organic matter (OM) was not significantly different. After planting rice, the value of EC, moisture, total N, available P and K, total content of Cu and Mn were decreased significantly, where compared to those before planting. Total concentration of heavy metals in grain and stem were not higher then limit of human consumption except for Fe in the stem. The results indicated that the plant height and grain yield were higher in treatments on contained with wastewater sludge. Samutprakarn paddy soil contained with 24 kg m-2 wastewater sludge and Suphanburi paddy soil contained with 36 kg m-2 wastewater sludge gave the highest plant height. However, wastewater sludge 36 kg m-2 in Suphanburi paddy soil and 12 kg m-2 wastewater sludge in Samutprakarn paddy soil gave the highest yield.
Keywords: wastewater sludge; heavy metals; rice (Pathumthani 80); peanut food factory; soil improvement