การประเมินการใช้ Sigma-Metric Tool เพื่อควบคุมคุณภาพการทดสอบ FBS และ HbA1c
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การตรวจ fasting blood glucose (FBS) และฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) มีความสำคัญในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคเบาหวาน การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างมากเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับผลการวิเคราะห์ตัวอย่างของผู้ป่วย ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบผลตรวจ FBS และ HbA1c ของห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลนครปฐม และการใช้ Sigma-metric quality control planning tool สำหรับการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ จากการศึกษาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจำนวน 3,334 ตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 27.95 มีค่า FBS < 130 mg/dL และ HbA1c < 7 % ร้อยละ 44.78 มี FBS > 130 mg/dL และ HbA1c> 7 % และพบผลตรวจที่ไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวร้อยละ 27.27 ผลการศึกษาการใช้ Sigma-metric tool และเลือกใช้ control procedure ตาม road map quality control planning พบว่าค่า Sigma-metric ของวิธีวิเคราะห์ FBS และ HbA1c อยู่ในระดับดีเยี่ยมและดีตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในจำนวนการเกิด out of control (p = 0.046, FBS), (p = 0.045, HbA1c) เมื่อเทียบกับ traditional 2SD quality control planning นอกจากนี้พบว่าสามารถช่วยลดค่าน้ำยาและจำนวนครั้งของการทำ IQC ได้โดยลดลงเฉลี่ยต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 48.44 และ 41.77 สำหรับวิธีวิเคราะห์ FBS และ HbA1c ตามลำดับ จึงมีความเหมาะสมในการใช้ควบคุมคุณภาพวิธีวิเคราะห์ FBS และ HbA1c ของห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย อีกทั้งจะยังช่วยลดการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการควบคุมคุณภาพที่เกินความจำเป็น
คำสำคัญ : การวางแผนควบคุมคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ; ซิกมาเมทริกซ์; เอฟบีเอส; ฮีโมโกลบินเอวันซี
Abstract
Fasting blood glucose (FBS) and HbA1c testing are important for diabetes patients. A high quality of laboratory performance is required to prevent analysis errors. We collected 3,334 of FBS and HbA1c data from laboratory in Nakhon Pathom hospital. The statistic patterns of FBS < 130 mg/dL with HbA1c level of < 7 % in 27.95 %, FBS > 130 mg/dL with HbA1c level of > 7 % in 44.78 % and others in 27.27 %. The results showed that the Sigma-metric of FBS and HbA1c is excellent and good by using the Sigma-metric quality control planning tool, respectively. When compared to traditional quality control planning 2SD, the result showed differenced significance in the amount of out of control (p = 0.046, FBS), (p = 0.045, HbA1c). The Sigma-metric quality control planning tool can reduces the frequency of control run and the reagent costs to 48.44 % for FBS and 41.77 % for HbA1c. It is appropriate for laboratory quality control planning tool in FBS and HbA1c method. Moreover, it also reduces the waste of time from the internal quality control run.
Keywords: laboratory quality control planning; Sigma metric; FBS; HbA1c