การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัลระหว่างการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่และผลกระทบของการห้ามขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

เสาวณิต รัตนรวมการ

Abstract

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัลระหว่างการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่และผลกระทบของการห้ามขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อปริมาณการดื่มสุราของนักเรียน เพื่อศึกษามูลเหตุและแรงจูงใจของการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่ของนักเรียน และเพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ โดยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัล (canonical correlation analysis) ของข้อมูล 2 ชุด ชุดละ 3 ตัวแปร ประกอบด้วย การใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กับการสูบบุหรี่ ปริมาณการสูบบุหรี่ และความถี่ในการสูบบุหรี่ ผลการวิจัยพบว่ามาตรการของรัฐบาล ที่มีผลกระทบต่อการลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากที่สุดคือมาตรการที่ 1 การห้ามขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ มาตรการที่มีผลรองลงมาคือมาตรการที่ 2 การกำหนดเวลาขาย 2 ช่วง คือเวลา 11:00-14:00 น. และเวลา 17:00-24:00 น. นอกเหนือเวลานี้ไม่ให้ขาย ส่วนมาตรการที่ 3 การกำหนดสถานที่จำหน่าย ไม่ให้ขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ศาสนสถาน (วัด) สถานศึกษา รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องกัน รวมทั้งห้ามขายบริเวณปั๊มน้ำมันหรือบริเวณต่อเนื่องกัน มาตรการที่ 4 ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เวลา 05:00-22:00 น. และมาตรการที่ 5 การติดป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลางแจ้งต้องห่างจากสถานศึกษาทุกระดับในระยะ 500 เมตรขึ้นไป มีผลต่อปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักเรียนระดับปานกลาง สำหรับมูลเหตุ และแรงจูงใจพบว่านักเรียนมีมูลเหตุและแรงจูงใจ ด้านบุคลิกภาพส่วนตัว ด้านครอบครัว  และด้านสังคม น้อยถึงน้อยมากต่อการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่ ในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัลและคู่ของตัวแปรที่สัมพันธ์ พบว่าสหสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัลและคู่ของตัวแปรที่สัมพันธ์กันมากที่สุดคือ = 0.849 โดยมี และ เมื่อ แทนสหสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัลระหว่างเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.849 คือค่าของข้อมูลที่ standardized แล้วด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวมันเอง

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัล; การใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่; ผลกระทบของการห้ามขายสุราแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์; นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุรินทร์

 

Abstract

A development of canonical model between alcoholic beverage and tobacco addictions and the impact of Thai Regulations against alcohol consumption to the consumer from Surin High School students, which includes regulations that: (1) children under 18 are prohibited from buying alcohol and tobacco. (2) retailers may now only sell alcoholic beverage between 11:00-14:00 and between 5:00 PM to midnight. (3) gas stations, shops at schools and religious institutions were no longer permitted to sell any sort of alcoholic beverage, including beer. (4) limit the times when alcohol may be advertised on television and radio stations by forbidding advertisements between 05:00-22:00 (not including beverages that contain less than 0.5% alcohol by weight). (5) establish alcoholic beverage advertisement-free zones in a 500 meters radius around educational institutions, national sporting events and cinemas. The results are as follows: Thai regulations (1) and (2) against alcohol consumption are strongly and strong reduce the consumption of alcoholic beverage respectively. Thai regulations (3), (4) and (5) against alcohol consumption are moderate reduce consumption of alcohol. Students do not have any personnel motivations to the use of alcoholic beverage and tobacco. The canonical correlation between 2 groups of variables (alcoholic beverage used, often and quantity versus tobacco used, often and amount of used tobacco) are being considered as two data vectors. The canonical correlation for the first pair of canonical variables is= 0.849 where  and  called alcohol stimulus and  called tobacco stimulus. Both are canonical variables, the pair of linear combinations, such that having unit variance, which maximize the correlation.  are standardized variables with mean and standard deviation.

Keywords: development of canonical model, alcoholic beverage and tobacco addictions; impact of Thai regulations against alcohol consumption to the consumer; Surin high school students

Article Details

Section
บทความวิจัย