อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
อนุมูลอิสระหมายถึงสารที่มีอิเล็กตรอนโดดเดี่ยวในอะตอมหรือโมเลกุล เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ โรคชรา โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคความจำเสื่อม โรคข้ออักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคความดันโลหิต โรคเหงือก โรคเกี่ยวกับสายตา เกิดความผิดปกติของปอด และระบบประสาท เป็นต้น ธรรมชาติหรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตจึงมีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งกลไกในการต้านอนุมูลอิสระมีหลายรูปแบบ เช่น การดักจับอนุมูลอิสระ การยับยั้งการทำงานของออกซิเจนที่ขาดอิเล็กตรอน การจับกับโลหะที่สามารถเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน การหยุดปฏิกิริยาการสร้างอนุมูลอิสระ การเสริมฤทธิ์ และการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาอนุมูลอิสระ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมีทั้งจากธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ ทั้งนี้การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเชิงคุณภาพและปริมาณมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ละวิธีมีความ จำเพาะแตกต่างกัน ปกติมักใช้หลายวิธีร่วมกันในการตรวจสอบและสรุปผลทั้งนี้เพื่อให้ผลการทดสอบมีความถูกต้องและแม่นยำ วิธีการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเชิงคุณภาพที่นิยม ได้แก่ การทำให้เกิดสีโครมาโตกราฟีแบบชั้นบาง และเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ส่วนวิธีการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเชิงปริมาณที่นิยม ได้แก่ การตรวจวัดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีการทำลายอนุมูลอิสระดีพีพีเอช การฟอกสีอนุมูลอิสระเอบีทีเอส และการวิเคราะห์ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของสารต้านอนุมูลอิสระ วิธีที่ได้นำเสนอในบทความนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างได้หลายชนิด
คำสำคัญ : อนุมูลอิสระ; สารต้านอนุมูลอิสระ; การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
Abstract
Free radicals are atoms or molecules with unpaired electrons. Many diseases are caused by free radicals, for instance, aging, cancer, coronary heart disease, Alzheimer’s disease, arthritis, allergies, high blood pressure, gum disease, eye problems, lung abnormality and nervous system abnormality. Normally free radical formation is controlled naturally by various beneficial compounds known as antioxidants. There are many mechanisms related to antioxidant activity, such as radical scavenging, singlet oxygen quenching, metal chelation, free radical chain breaking, synergism and enzyme inhibition. Antioxidants can be classified into natural and synthetic groups. Moreover, several analytical methods have been used for qualitative and quantitative determination of antioxidants, and each has its own specificity. Accuracy and precision of analysis is generally confirmed by various methods. The qualitative methods for determination of antioxidants include colorimetric assay, thin layer chromatography (TLC) and high performance liquid chromatography (HPLC). The quantitative methods for antioxidant determination include diphenyl-picryhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay, ABTS radical cation decolorization assay and ferric ion reducing antioxidant power assay. The proposed method is a simple, convenient and rapid that can be applied to various types of samples.
Keywords: free radicals; antioxidants; antioxidant activity determination