การตรวจทางจุลภาคพื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

Main Article Content

ศรีนวล สมรูป

Abstract

บทคัดย่อ

การตรวจทางจุลภาคพื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยานั้น อาศัยเทคนิคการย้อมสีและการตรวจดูสด เทคนิคที่นิยมใช้ทั่วไป ได้แก่ Gram stain; Acid fast stain; Modified acid fast stain; Wright stain; India ink preparation และ KOH preparation ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำได้ง่าย ต้นทุนต่ำ ให้ผลเร็วและมีความจำเพาะค่อนข้างสูง สามารถให้ข้อมูลเชื้อก่อโรคเบื้องต้นเพื่อการวินิจฉัยและการพยากรณ์โรค ใช้เป็นแนวทางในการเลือกยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมในการรักษาก่อนจะทราบชนิดของเชื้อที่แน่นอนด้วยการเพาะเชื้อ หรือการตรวจทางซีโรโลยีและเทคนิคระดับโมเลกุล ซึ่งไม่เหมาะสำหรับห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก แม้ว่าการตรวจทางจุลภาคพื้นฐานจะมีข้อจำกัดในการแยกชนิดของเชื้อ และมีความไวต่ำ แต่ถือเป็นเทคนิคที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเริ่มต้นในการรักษาผู้ป่วยเพื่อลดความรุนแรงของโรคและอัตราการเสียชีวิต

คำสำคัญ : Gram stain; Acid fast stain; Wright stain; India ink preparation; KOH preparation

 

Abstract

Basic microscopic examination in microbiology laboratory consists of two major principles: staining and wet preparation techniques. These techniques including Gram stain, Acid fast stain, Modified acid fast stain, Wright stain, India ink preparation and KOH preparation are the most simple and inexpensive techniques with rather high specificity for the rapid presumptive diagnosis and provide important data for the patient's treatment and prognosis. It is useful as guideline in selecting appropriate antimicrobial therapy before obtaining microorganism identification using culture or serology and molecular techniques, which could not available in small laboratory. Although, basic microscopic examinations are not able to identify into species level and provide a poor sensitivity, but they have a significant impact on initiate effective therapy to reduce the morbidity and mortality.

Keywords: Gram stain; Acid fast stain; Wright stain; India ink preparation; KOH preparation

Article Details

Section
บทความวิชาการ