ผลของการใช้น้ำมันกานพลูเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต สภาพมูล และค่าโลหิตวิทยาของสุกรหย่านม-สุกรรุ่น

Main Article Content

นิภารัตน์ ศรีธเรศ
กมลชัย ตรงวานิชนาม

Abstract

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำมันกานพลูเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต  สภาพมูลและค่าโลหิตวิทยาของสุกรหย่านม-สุกรรุ่น วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) โดยใช้สุกรเพศเมียลูกผสม 3 สายพันธุ์ จำนวน 20 ตัว หย่านมที่อายุ 25 วัน น้ำหนักประมาณ 13 กิโลกรัม แบ่งสุกรออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ อาหารทดลอง 5 สูตร คือ อาหารที่ไม่ใช้วัตถุเสริม (กลุ่มควบคุม) อาหารที่เสริม Colistin 200 ppm อาหารที่เสริมด้วยน้ำมันกานพลูที่ระดับ 2, 4 และ 6 ml kg-1 diet ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการเสริมน้ำมันกานพลูในอาหารและ Colistin 200 ppm มีผลต่อการปรับปรุงสมรรถภาพการผลิต (p<0.05) สุกรหย่านมมีลักษณะสีและรูปร่างของมูลดีขึ้น เปอร์เซ็นต์การเกิดท้องเสียต่ำลง ในขณะที่พบว่าไม่มีผลต่อการปรับปรุงสมรรถภาพการผลิตในสุกรรุ่น (p>0.05) ค่าโลหิตวิทยา สารน้ำดีรวมทั้งหมด และไขมันในเลือด ไม่มีผลแตกต่างกันในสุกรหย่านมและสุกรรุ่น (p>0.05) แต่ในสุกรรุ่นมีผลทำให้ค่าไตรกลีเซอไรด์ลดลง และมีแนวโน้มทำให้สุขภาพของสุกรดีขึ้น ดังนั้นการเสริมน้ำมันกานพลูที่ระดับ 2 ml kg-1 diet น่าจะมีศักยภาพในการใช้เป็นสารเสริมในอาหารสุกรหย่านม ผลสรุปว่าน้ำมันกานพลูมีศักยภาพเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะได้

คำสำคัญ : น้ำมันกานพลู  สุกรหย่านม  สุกรรุ่น  สมรรถภาพการผลิต  สภาพมูล  โลหิตวิทยา

 

Abstract

The aim of this experiment was conducted to study the effect of clove oil (Syzygium aromaticum) supplementation in diets on performances, fecal condition and blood parameter of weaning-growing swine. Twenty 25-days old weaned 3 crossbred female pigs each with average body weight approximately 13 kg were allocated into 5 treatments with 4 replications in Completely Randomized Design. The dietary treatments were as follows: no feed additive in diet as the control, diet plus 200 ppm Colistin, diets containing different levels of S. aromaticum at 2, 4 and 6 ml kg-1 diet, respectively. The results showed that S. aromaticum supplementation and 200 ppm Colistin had significantly improvement on growth performances, faeces color and shape of weaned pigs and decreased diarrhea percentage (p<0.05). Whereas it cannot improved the growth performances of growing pigs (p>0.05). Hematological parameters, total bilirubin and lipid profiles were not significantly different among treatments in weaned and growing pigs (p>0.05). While triglycerides was decreased in growing pigs. The pigs fed with diet supplemented with S. aromaticum tended to have better health than the pigs fed with the control diet. It is concluded that the application of S. aromaticum as feed additive at 2 ml kg-1 diet has a potential equivalent to antibiotic in weaned pigs feeding. From these results, S. aromaticum is concluded to be a potential alternative feed additive for use in swine diets.

Keywords: clove oil, weaned pig, growing pig, growth performance, fecal condition, blood parameter

Article Details

Section
บทความวิจัย