โปรแกรมช่วยตัดสินใจเลือกสถิติทดสอบแบบไคสแควร์สำหรับตารางการจร

Main Article Content

อุมาพร จันทศร
สุธิศักดิ์ ป้อมแจ่มศรี
ธิษณา สิงห์สุวรรณกุล
นพวรรณ ปรีดาวรรณเลิศ
ไพลิน สว่างขจร

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างโปรแกรมช่วยตัดสินใจเลือกสถิติทดสอบแบบไคสแควร์สำหรับตารางการจรในกรณีต่าง ๆ เช่น การมีเซลล์ที่มีความถี่คาดหวังน้อยกว่า 5 เป็นจำนวนมาก หรือตัวแปรตัวหนึ่งสามารถตอบได้มากกว่าหนึ่งคำตอบ หรือการทดสอบที่สามารถหาความแตกต่างระหว่างคู่ของค่าสัดส่วนด้วยการใช้การแยกส่วนค่าไคสแควร์ โปรแกรมสามารถช่วยเลือกสถิติทดสอบได้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีสถิติ เมื่อคำนึงถึงข้อกำหนดเบื้องต้นของการทดสอบแบบไคสแควร์ และคำนวณค่าสถิติทดสอบด้วยโปรแกรมคำนวณจากเว็บไซต์ที่เป็นสื่อการสอนของสถิติทดสอบนั้น ๆ ที่ได้เชื่อมโยงไป การใช้งานจะอยู่ในลักษณะถามตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ผ่านทางหน้าจอ ผลที่ได้อาจจะเป็นการทดสอบแบบไคสแควร์ในกรณีต่าง ๆ หรือสถิติทดสอบอื่น ๆ ที่ควรใช้แทนที่ โปรแกรมนี้จะนำเสนอที่เว็บไซต์ชื่อ http://www.chi-square-test.comนอกจากนี้โปรแกรมยังได้อธิบายเนื้อหาและตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบแบบไคสแควร์ในกรณีต่าง ๆ และการทดสอบอื่น ๆ ที่ใช้แทนที่ ส่วนความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรมพบว่าโดยส่วนมากของผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมาก

คำสำคัญ : ค่าความถี่คาดหวังน้อยกว่า 5; การทดสอบของฟิชเชอร์; การทดสอบของฟรีแมน-ฮอร์ตัน; การทดสอบไคสแควร์ในกรณีที่ตัวแปร 1 ตัว สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ; การแยกส่วนค่าไคสแควร์

 

Abstract

The objective of this study is to develop program to assist those who want to analyze data by Chi-square test for contingency table in various cases. For example there are many cells where expected frequency is less than 5 or one variable has multiple response categories or the test to find different characteristics conclusion in each population by partition chi-square. The program would allow them to select theoretically proper test statistic regarding the assumption. The program can analyze data by link to web based e-learning of that statistical test. The program would be so designed in such a way that user can communicate with computer by means of question and answer through the monitor. The final answer will end up with any kind of Chi-square test or other tests that appropriate to the data. For those who are interesting can find the program at website www.chi-square-test.com. Moreover, the program also explains the contents and examples related to the theory of chi-square and other tests that appropriate. For the satisfaction of user found that the most user were satisfied.

Keywords: expected frequency less than 5; fisher exact probability test; Freeman-Halton test; chi-square with one variable has multiple response categories; partition chi-square

Article Details

Section
บทความวิจัย