การวิเคราะห์จำนวนนับเซลล์แบคทีเรียจาก Hemacytometer ด้วยวิธีการเชิงสถิติ

Main Article Content

อุทัยทิพย์ ทนเถื่อน
สุดารัตน์ สุวรรณชัย
วีรานันท์ พงศาภักดี
วิโรจน์ กนกศิลปธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเซลล์แบคทีเรีย และวิเคราะห์จำนวนเซลล์แบคทีเรียที่นับโดย Hemacytometer เพื่อศึกษาอัตราการเจริญของเซลล์แบคทีเรียที่อุณหภูมิต่างๆ ในอาหาร 480G, pH7.0, 0.05 % NaCl ด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงสถิติ โดยข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองนับเซลล์แบคทีเรียที่นับโดย Hemacytometer ของภาควิชาจุลชีววิทยา  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร (2552-2553) โดยมีปัจจัยจำแนกประเภท (categorical variables) 4 ตัวแปร คือ จำนวนนับเซลล์แบคทีเรีย (cell count) จำแนกเป็น 2 กลุ่ม อุณหภูมิ (temperature) จำแนกเป็น 8 กลุ่ม ชั่วโมงที่ใช้บ่มเชื้อก่อนนับจำนวนเซลล์แบคทีเรีย (hour) จำแนกเป็น 5 กลุ่ม พื้นที่ที่นับเซลล์แบคทีเรีย (area) จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าจำนวนเซลล์แบคทีเรียที่นับในพื้นที่เริ่มต้น เช่น A, B, C และ D มีค่าค่าเฉลี่ยน้อยกว่า 80 เซลล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α = 0.01 (P = 0.0001) ดังนั้นการนับจำนวนเซลล์แบคทีเรียที่นับในพื้นที่เริ่มต้น เมื่อพบจำนวนเซลล์แบคทีเรียที่นับน้อยกว่า 80 เซลล์ () อาจเปลี่ยนไปนับในพื้นที่เล็กลง เช่น 1, 2, 3, 4 และ 5 ต่อไป สำหรับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเซลล์แบคทีเรียจากการสร้างตัวแบบล็อกลิเนียร์ที่เหมาะสม ได้แก่ จำนวนเซลล์แบคทีเรีย อุณหภูมิ ชั่วโมงที่ใช้บ่มเชื้อก่อนนับจำนวนเซลล์แบคทีเรีย และพื้นที่ที่นับเซลล์แบคทีเรีย ที่ α = 0.01 (P < 0.0001) ส่วนการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเซลล์แบคทีเรียระหว่างอุณหภูมิระดับต่างๆ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α =  0.05 และการเปรียบเทียบจำนวนชั่วโมงที่ใช้บ่มเชื้อก่อนนับจำนวนเซลล์แบคทีเรียที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเซลล์แบคทีเรียพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α = 0.01 และพบว่าจำนวนชั่วโมงที่ใช้บ่มเชื้อก่อนนับจำนวนเซลล์แบคทีเรียเท่ากับ 12 ชั่วโมง ให้ค่าเฉลี่ยของจำนวนเซลล์แบคทีเรียมากที่สุด

คำสำคัญ : ตัวแบบล็อกลิเนียร์; ตัวแปรจำแนกประเภท; การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม; การทดสอบครัสคัลวาริส

 

Abstract

This research aims to identify factors affecting the rate growth of bacterial cells and analyze the number of bacterial cells that are counted using Hemacytometer under 480G, pH 7.0, 0.05 % NaCl. The experimental data from the department of microbiology, faculty of science Silpakorn University (2552-2553) consist of 4 variables: cell count (the number of bacterial cells) classified into 2 groups, Temperature classified into 8 groups, hour (hours incubation before counting the bacterial cells) classified into 5 groups, and area classified into 2 groups. The research results are divided into 4 parts: (1) The average number of bacterial cells that are counted before further study is found significantly less than 80, at α = 0.01 (P = 0.0001). Therefore, the number of cell counts obtained from the area A, B, C and D may well be reduced from 80 to 31 cells () before further study in smaller area. (2) From the loglinear model, it is shown significantly at α = 0.01 (P < 0.0001) that the factors affecting the rate growth of bacterial cells are group of cell count, temperature, hour, and area. (3) The mean of bacteria cell counts differ significantly between the temperature levels at α =0.05.  (4) The median of bacteria cell counts differ significantly between hours of incubation in counting the bacteria cells at α =0.1 (P = 0.0001) and that the incubation period that gives the maximum cell counts is 12 hours.

Keywords: loglinear model; categorical variables; ANCOVA; Kruskal Wallis test

Article Details

Section
บทความวิจัย