การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อประเมินการชะล้างพังทลายของดินพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิงตอนบน จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิงตอนบน โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง RMMF (Revised Morgan, Morgan and Finney) ร่วมกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Information technology) (2) ออกแบบจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินที่ประเมินได้จากแบบจำลอง RMMF และออกแบบตามมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่นำมาปฏิบัติใช้สำหรับการประเมินการชะล้างพังทลายของดินมีการนำแบบจำลองคณิตศาสตร์ RMMF มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลอง ได้แก่ ปัจจัยด้านน้ำฝน (R, Rn, I) ปัจจัยด้านดิน (BD, MS, COH, K) ปัจจัยด้านพืชหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน (A, Et/Eo, C, CC, GC, PH, EHD) และสภาพภูมิประเทศ (S) ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ศึกษามีอัตราการสูญเสียดินระหว่าง 0 - 0.16 ตันต่อไร่ต่อปี เมื่อนำอัตราการสูญเสียดินมาจัดกลุ่มแบบ Quantile โดยแบ่งระดับความรุนแรงการชะล้างพังทลายของดินออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย น้อย ปานกลาง และมาก คิดเป็นพื้นที่ 26.48 ตร.กม. (33.10 %) 29.31 ตร.กม. (36.64 %) และ 24.21 ตร.กม. (30.26 %) ตามลำดับ ซึ่งในบริเวณที่มีการชะล้างพังทลายของดินในระดับปานกลางและรุนแรงมาก ต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นพิเศษ นอกจากนี้เมื่อนำอัตราการสูญเสียดินที่ได้จากการศึกษามาจำแนกตามระดับความรุนแรงที่กรมพัฒนาที่ดินได้ทำการศึกษาไว้ พบว่าพื้นที่ศึกษามีระดับความรุนแรงการชะล้างพังทลายของดินอยู่ในระดับน้อยมาก หรือมีอัตราการชะล้างพังทลายของดินอยู่ในช่วง 0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี
คำสำคัญ : แบบจำลองคณิตศาสตร์; เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ; ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
Abstract
This thesis studied for the assessment of soil erosion in the upper Lam Phra Phloeng Watershed, Nakhonratchasima Province using Revised Morgan, Morgan and Finney (RMMF) model and Geo-information technology. The result of soil loss from RMMF model can be used for soil and water conservation design. The input data which are used in RMMF model included factors of rain (R, Rn, I), soil (BD, MS, COH, K), landuse (A, Et/Eo, C, CC, GC, PH, EHD) and geography (S). The results of soil loss from RMMF model in the studied area have the rate of soil loss between 0 - 0.16 ton/rai/year. When derived by grouping Quantile severity of soil loss it could be classified into 3 classes low, moderate, and severe. The results present that 26.48 sq.km. (33.10 %) of area are low, 29.31 sq.km. (36.64 %) of area are moderate and 24.21 sq.km. (30.26 %) of area are severe. Moderate and severe locations are presented for the soil and water conservation practices. Furthermore, when classified according to the Land Development Department soil loss classification found that the level of soil erosion is very slight with 0-2 ton/rai/year.
Keywords: mathematic model; Geo-information technology; soil and water conservation