แรงจูงใจเพื่อการศึกษาปูแสมตามชายฝั่งไทย : ความชุกของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
เป็นที่รู้กันดีว่าปูเป็นโฮสต์กึ่งกลางที่ 2 ของพยาธิใบไม้ปอด มีรายงานว่าพยาธิใบไม้ที่พบในมนุษย์มีอย่างน้อย 3 วงศ์ ได้แก่ Paragonimidae, Achillurbainiidae และ Microphallidae สำหรับวงศ์ Microphallidae ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการรายงานติดต่อในคน แต่มีรายงานพบมีการติดต่อในคนที่กินปูตามชายฝั่งทะเลในประเทศเกาหลี ปัจจุบันหลายประเทศ ได้แก่ อเมริกา นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี เวเนซุเอลา เป็นต้น ได้มีการศึกษากันมากถึงพยาธิใบไม้วงศ์ Microphallidae ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ (metacercaria) ในสัตว์เปลือกแข็ง (crustacean) ตามชายฝั่งทะเล ถึงแม้จะยังไม่มีรายงานการก่อโรคในคนที่ติดเชื้อแต่ขนาดของไข่และตัวเต็มวัยมีขนาดใกล้เคียงมากกับพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก (MIF, minute intestinal fluke) จึงอาจก่อโรคได้เช่นเดียวกับพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก แต่ในประเทศไทยมีการรายงานหรือมีการศึกษาถึงพยาธิใบไม้วงศ์ Microphallidae เช่น Microphallus spp. หรือ Maritrema spp. หรือ Gynaecotyla spp. น้อยมากทั้ง ๆ ที่ปูแสมซึ่งเป็นโฮสต์กึ่งกลางตัวที่สองจัดเป็นปูตามชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นกลุ่มปูที่พบมากที่สุดในบริเวณป่าชายเลนและยังเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มนุษย์นิยมรับประทาน รวมถึงประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลถึง 2 ด้าน คือ ชายฝั่งทะเลอันดามันด้านตะวันตก และชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก รวมระยะทางยาวประมาณ 2,815 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปูจำนวนมาก ดังนั้นสถาบันการศึกษาจึงควรให้ความสนใจที่จะศึกษาถึงความชุกของตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิชนิดนี้ในปูแสมหรือปูตามชายฝั่ง เพื่อเป็นข้อมูลติดตามระบบนิเวศทางธรรมชาติ ข้อมูลทางสถิติ และระบาดวิทยาต่อไป
คำสำคัญ : ปูแสม; พยาธิใบไม้วงศ์ Microphalliidae; ตัวอ่อนระยะติดต่อ
Abstract
It is well known that crabs are the second intermediate host of trematode. There are reports that trematodes that is found in humans belong to at least 3 families: Paragonimidae, Achillurbainiidae and Microphallidae. There is no report of human infection from Microphallidae in Thailand but there were reports of some infections in people who consumed shore crabs in Korea. Today, several countries such as the US, New Zealand, Korea and Venezuela have studied Microphallidae metacercaria in crustacean. Even though there is no report of disease causing in the case of human infection, but the size of the eggs and adults are very similar to MIF (minute intestinal fluke). Therefore it may be possible to be the diseases etiologic agent as well. However, there are few reports and studies on Microphallidae: Microphallus spp. or Maritrema spp. or Gynaecotyla spp. even though the shore crab which is its second intermediate host is found along the coast. The shore crab is the most prevalent crab in the mangrove forests and is a popular food. Thailand has 2 coast sides: the Andaman Sea to the west and the Gulf of Thailand to the east, with the total length of 2,815 kilometers and home to a large number of shore crabs. Therefore, educational institutes should support and realize the importance of the prevalence study of metacercaria in shore crabs. The information gathered will be useful for natural system investigation, statistics and epidemiology.
Keywords: shore crab; family Microphalliidae; metacercaria