ผลของปุ๋ยชีวภาพราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของไผ่และปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดิน

Main Article Content

นาฏยา แพทย์พิทักษ์
ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยชีวภาพราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของไผ่ รวมทั้งปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินบริเวณเขตรากไผ่ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 factorial in completely randomized design จำนวน 4 ซ้ำ ซึ่งปัจจัยที่ 1 คือ การใส่ปุ๋ยชีวภาพราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา และปัจจัยที่ 2 คือ ชนิดของไผ่ จำนวน 3 ชนิด 2 สายต้น ได้แก่ ไผ่กิมซุ่ง (Bambusa beecheyana) ไผ่ตงลืมแล้ง (Bambusa  beecheyana) ไผ่ซางหม่น (Dendrocalamus sp.) และไผ่ซางนวล (Dendrocalamus membranaceus) ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีผลทำให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำของไผ่ซางหม่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อไผ่ชนิดอื่น อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยชีวภาพไม่มีผลต่อจำนวนหน่อที่เกิดใหม่และจำนวนหน่อฝ่อของไผ่ทุกชนิด นอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยชีวภาพทำให้ความสามารถในการเข้าอยู่อาศัยในรากพืชอาศัยของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอไรซาที่พบทั้งในชั้นดินบนและล่างบริเวณรากไผ่ทุกชนิดเพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในชั้นดินล่างบริเวณรากไผ่ตงลืมแล้งเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา; ไผ่; อินทรีย์คาร์บอนในดิน

 

Abstract

The study on effect of arbuscular mycorrhizal (AM) fungi bio-fertilizer on growth and yield of bamboo and organic carbon in soil of bamboo rhizosphere was undertaken in 2 x 4 factorial in completely randomized design with 4 replications. The 1st factor was application of AM fungi bio-fertilizer and the 2nd factor was varieties of bamboo, including 3 species, 2 clones of bamboo, namely; Kim Sung (Bambusa beecheyana) Tong Luem Lang (Bambusa beecheyana) Sang Mon (Dendrocalamus sp.) and Sang Nuan (Dendrocalamus membranaceus). The results revealed that the application of AM fungi bio-fertilizer significantly increased diameters of Sang Mon‘s culm but did not in other bamboo. However, the application of bio-fertilizer did not affect on new shoot number and died shoot number of any bamboo. Otherwise, the application of bio-fertilizer increased infectivity of AM fungi in both topsoil and subsoil layer under any bamboo rhizosphere and increased organic carbon in subsoil layer of Tong Luem Lang rhizoshere.

Keywords: arbuscular mycorrhizal fungi; bamboo; soil organic carbon

Article Details

Section
บทความวิจัย