การศึกษาการเจริญเติบโตของไผ่บางพันธุ์

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
ปภากานต์ พรหมคล้าย
เยาวพา จิระเกียรติกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของไผ่ 5 พันธุ์ ที่ปลูก ณ สวนไผ่ของเกษตรกร ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้แก่ ไผ่ปักกิ่ง (Dendrocalamus sp.) ไผ่บงใหญ่ (Dendrocalamus brandisii Kurz) ไผ่ไจแอ้นท์ (Dendrocalamus sp.) ไผ่ซางหม่น ‘ฟ้าหม่น’ (Dendrocalamus siriceus cl. Phamon) และไผ่ซางหม่น ‘นวลราชินี’ (Dendrocalamus siriceus cl. Nuan Rachini) โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 2 กอ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2555 ถึงมกราคม 2556 เป็นระยะเวลา 7 เดือน ผลการศึกษาพบว่าดินบริเวณสวนไผ่มีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น ส่วนการเกิดหน่อใหม่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และการเจริญเติบโตด้านความสูง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไผ่บงใหญ่มีการเกิดหน่อใหม่เฉลี่ยสูงสุด และมีการเจริญ เติบโตด้านความสูงของลำไม้ไผ่สูงรองลงมาจากไผ่ไจแอ้นท์

คำสำคัญ : ไผ่; การเจริญเติบโต; อินทรียวัตถุ

 

Abstract

A study on growth of five bamboo varieties at farmer’s bamboo plantation, Sra Kaew sub-district, Muang district, Suphan Buri province, including Pai Beijing (Dendrocalamus sp.) Pai Bongyai (Dendrocalamus brandisii Kurz) Pai Giant (Dendrocalamus sp.) Pai Sangmon ‘Phamon’ (Dendrocalamus siriceus cl. Phamon) and Pai Sangmong ‘Nuan Rachini’ (Dendrocalamus siriceus cl. Nuan Rachini). The experiment used CRD with 4 replications and 2 clump per replication, conducted for 7 months (July, 2012 - January, 2013). The results showed that soil in bamboo garden had higher organic matter. For bamboo growth rate, it was found that number of new shoot, the stem diameters and plant heights were significantly different between bamboo varieties. Pai Bongyai had the highest number of new shoots but plant height was shorter than Pai Giant.

Keywords: bamboo; growth; organic matter

Article Details

Section
บทความวิจัย