พฤติกรรมของดินทรายที่มีขนาดคละไม่ดีเมื่อปรับปรุงด้วยซีเมนต์สำหรับงานทาง

Main Article Content

วีรยา ฉิมอ้อย
ศิรวิทย์ นะวะยศ

Abstract

บทคัดย่อ

การปรับปรุงดินด้วยซีเมนต์ถูกนำมาใช้ในงานทางอย่างกว้างขวางโดยงานวิจัยที่ผ่านมาศึกษาการผสมซีเมนต์กับดินลูกรัง (SW) และ หินคลุก (GC) เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะมักจะพบดินชนิดนี้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาดินชนิดอื่นๆเพื่อเป็นทางเลือกในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ศึกษาพฤติกรรมของดินทรายที่มีขนาดคละไม่ดีเมื่อปรับปรุงด้วยซีเมนต์โดยปริมาณซีเมนต์ 0%, 2%, 5% และ 8% ของน้ำหนักดินทรายแห้งพบว่าความหนาแน่นแห้งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณซีเมนต์แต่ปริมาณความชื้นเหมาะสมสูงสุดมีแนวโน้มลดลง สำหรับค่า UCS ของดินทรายผสมซีเมนต์เมื่อบดอัดด้านแห้งและด้านเปียก พบว่าค่า UCS มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อตามอายุบ่มและปริมาณซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น โดยค่า UCS ของดินทรายผสมซีเมนต์บดอัดที่ปริมาณความชื้นด้านแห้ง (-2% OMC) มีค่ามากกว่า ค่า UCS ของดินทรายผสมซีเมนต์บดอัดที่ปริมาณความชื้นด้านเปียก (+2% OMC) เช่นเดียวกับค่า CBR พบว่าที่ดินทรายผสมซีเมนต์บดอัดที่ปริมาณความชื้นด้านแห้งค่า CBR จะมากกว่าเมื่อบดอัดด้านเปียกเสมอ และเพิ่มขึ้นตามปริมาณซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นด้วย

คำสำคัญ : ดินทรายผสมซีเมนต์ดินทรายที่มีขนาดคละไม่ดี; การทดสอบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด; กำลังรับแรงแบกทาน

 

Abstract

Soil cement stabilization has been widely used as subbase in highway construction. In the past researches, almost cement mixed with lateritic soil (SW) and mixed withcrushed rock (GC) were studied, since these soils usually were found in natural conditions. Anyway the other soil types should be studied in order to have an alternative for using in highway construction. Therefore this research aims to study the behavior of poorly graded sand stabilized by cement with 2%, 5% and 8% by dry weight of sand.  The mixed sand cements were compacted at ±2% OMC and were tested for unconfined compression test and California bearing ratio test. The test results show that the dry densityof sand-cement increased with increasing of cement content but in the opposite way the optimum moisture content (OMC) decreased. It shows evidently that the UCS values increasedwith the increasing of cement content and curing time. TheUCS values of mixed sand cement when compact at dry side (-2% OMC) are more than that of wet side (+2% OMC). The CBR values were also in the similar trend with UCS values.The CBR of mixed sand cement increased with the increasing of cement content.

Keywords: sand-cement, poorly graded sand; unconfined compression test; CBR

Article Details

Section
บทความวิจัย