ความหลากหลายของหนอนแดงในเขตจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การทดลองนี้ทำการสุ่มตัวอย่างหนอนแดงมาจากแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ ในเขตอำเภอคลองหลวง และอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วยแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนมลพิษและแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อศึกษาสปีชีส์ของหนอนแดงที่พบในแหล่งน้ำดังกล่าว และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายของหนอนแดงในแต่ละแหล่งน้ำประเภทต่างๆ ผลการทดลองพบหนอนแดงทั้งหมด 15 สกุล จำนวน 20 สปีชีส์ การศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างการแพร่กระจายของหนอนแดงกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำ พบความหนาแน่นของหนอนแดงมีความสัมพันธ์กับปริมาณสารอินทรีย์ในดินตะกอนอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.922, P = 0.026) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่กระจายของ Polypedilum sp. กับปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.792, P = 0.001) และการแพร่กระจายของ Tanypus sp. 1 มีความสัมพันธ์กับปริมาณไนเตรตในดินอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.999, P = 0.000) ขณะที่การแพร่กระจายของ Tanytarsus sp. 1 และ Chironomus sp. 1 มีความสัมพันธ์กับปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ในน้ำอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.989, P = 0.001 และ r = 0.996, P = 0.000 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากเป็นการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียว จำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมในการศึกษาครั้งต่อไป
คำสำคัญ : หนอนแดง; การแพร่กระจาย; จังหวัดปทุมธานี; Polypedilum sp.; Tanypus sp.; Tanytarsus sp.; Chironomus sp.
Abstract
Chironomid larvae were sampled from polluted and natural waterbodies in Samkook and Klonglong Districts, Prathumthani Province. The objectives of this study were to investigate the species of chironomid larvae distributed in these areas and factors that affect the dispersions of chironomid larvae among these waterbodies. Twenty species within five genera of chironomid larvae were obtained. Correlation analyses revealed significant relationship between abundance of Chironomid larvae and amount of organic substances in the sediments (r = 0.922, P = 0.026). The distribution Polypedilum sp. was found significantly related to dissolved oxygen (r = 0.792, P = 0.001) while the distribution of Tanypus sp. 1 was significantly related to soil nitrate. In addition, the dispersions of Tanytarsus sp. 1 and Chironomus sp. 1 among waterbodies were found significantly related to Chlorophyll A at p = 0.001 (r = 0.989) and p= 0.000 (r = 0.996), respectively. However, the conclusion could not be drawn since environmental factors were only once collected. Further study with throughout the year sampling was recommended.
Keywords: chironomid larvae; Prathumthani Province; Polypedilum sp.; Tanypus sp.; Tanytarsus sp.; Chironomus sp.