ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อส่งเสริมโครงการเมืองน่าอยู่ในด้านสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุเพชร จิรขจรกุล
ณัฐพล จันทร์แก้ว
สุนันต์ อ่วมกระทุ่ม
พีระวัฒน์ แกล้ววิการณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อส่งเสริมโครงการเมืองน่าอยู่ในด้านสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศและรูปแบบการวิเคราะห์ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการติดตามการกระจายตัวหน่วยบริการด้านสาธารณสุข ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงหน่วยบริการด้านสาธารณสุข อย่างทั่วถึงเพื่อประกอบโครงการเมืองน่าอยู่ในด้านสาธารณสุขต่อไป  ระบบภูมิสารสนเทศสนับสนุนการผลิตแผนที่หน่วยบริการด้านสาธารณสุข แบ่งตามระดับของหน่วยบริการ พบว่ามี ระดับหน่วยบริการได้แก่ 1.0 ระดับปฐมภูมิ 2.1 ระดับทุติย-ภูมิระดับต้น 2.2 ระดับทุติยภูมิระดับกลาง 2.3 ระดับทุติยภูมิระดับสูง และ 3.1 ระดับตติยภูมิระดับสูง ได้แก่ โรงพยาบาล 23  แห่ง สถานีอนามัย 251 แห่ง ศูนย์สุขภาพชุมชน 260  แห่ง และการวิเคราะห์การเข้าถึงหน่วยบริการด้านสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมโครงการเมืองน่าอยู่ในด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากงานวิจัยพบว่า ระยะเวลาในการเข้าถึงบริการระดับพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยของทุกหมู่บ้านไปยังหน่วยบริการใช้เวลา 3.39 นาที และหากมีการนำระบบภูมิสารสนเทศไปประกอบการวางแผนโดยบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อการติดตามงานด้านสาธารณสุขจะช่วยให้ติดตามการกระจายทรัพยากรด้านสาธารณสุข และการวิเคราะห์การเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้สะดวกมากขึ้น

คำสำคัญ :  ระบบภูมิสารสนเทศ; การวิเคราะห์โครงข่าย; การเข้าถึงหน่วยบริการด้านสาธารณสุข

 

Abstract

This research is applied Geo-informatics to support the projects on the city’s public health, Nakhon Si Thammarat province. Geo-informatics can serve as a useful tools for the promoting the provincial public health and to monitor and plan the distribution of public health service units at Nakhon Si Thammarat province. It can be supported to extensively achieve equality in access to health care service center in this province. The level of the health care service center was divided as primary health care service (1.0), secondary level (2.1), middle-secondary level (2.2), senior secondary level (2.3), and tertiary level (3.1). 23 hospitals, 251 health care service centers, 260 community health care centers and road accessibility are included in GIS database. The results showed that Health Care Service Accessibility Analysis can be applied by using Geo-informatics. The average access time is 3.39 minutes of all villages. If the Geo-informatics application is used to support for planning, tracking the health care center, it should track the distribution of health care service resources and in equity health service accessibility in the future.

Keywords: geo-informatics; network analysis; health care center accessibility

Article Details

Section
บทความวิจัย