สายพันธุ์ขมิ้นชันผลผลิตสูง TU 04-9-1

Main Article Content

บุญหงษ์ จงคิด

Abstract

บทคัดย่อ

การปรับปรุงพันธุ์ขมิ้นชันเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและคัดเลือกสายพันธุ์ขมิ้นชันที่สามารถให้ผลผลิตทั้งด้านปริมาณ คือ น้ำหนักของเหง้าสดต่อต้น และทางด้านคุณภาพ ได้แก่ ปริมาณของสารเคอร์คูมินอยด์ในเหง้า ซึ่งเป็นตัวยาที่สำคัญของขมิ้นชัน นอกจากนั้นยังทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงควบคู่ไปกับความต้านทานโรคแอนแทรคโนส (Collettotrichum capsici) และหนอนกัดกินใบอีกด้วย งานวิจัยนี้กระทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 โดยการคัดเลือกสายพันธุ์ขมิ้นชันจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย จำนวนทั้งหมด 86 สายพันธุ์ ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตที่ดี ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคแอนแทรคโนสและหนอนกัดกินใบ ซึ่งผลปรากฏว่าสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะดีดังกล่าวได้ 48 สายพันธุ์ จึงได้นำมาปลูกทดลองเปรียบเทียบในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และในพื้นที่หลายๆ แห่งของจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปี พ.ศ.2552 พบว่า สายพันธุ์ TU04-9-1 สามารถให้ผลผลิตสูงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ สูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และมีเสถียรภาพให้ผลผลิตได้ดีในพื้นที่ปลูกที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างออกไปด้วย โดยสามารถให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยถึง 4,270.17 กิโลกรัม มีปริมาณสายเคอร์คูมินอยด์ 13.76 – 14.62% ของน้ำหนักแห้งเหง้า มีพื้นที่ใบเสียหายจากการถูกทำลายของโรคแอนแทรคโนสไม่เกิน 3.5% มีพื้นที่ใบเสียหายจากการถูกทำลายของโดยหนอนกัดกินใบไม่เกิน 3.0% มีความทนทานต่อดินเป็นกรด (pH 5.2 – 6.4) ค่อนข้างสูง มีการเจริญเติบโตทางลำต้นดีกว่าสายพันธุ์อื่นๆ โดยมีความสูงเฉลี่ย 118.6 ซม. มีความยาวใบเฉลี่ย 40.8 ซม. มีความกว้างใบเฉลี่ย 14.9 ซม. และมีเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย 7.9 ซม. ดังนั้น จึงได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ขมิ้นชัน TU04-9-1 ไว้เพื่อทำการขยายพันธุ์ให้เกษตรปลูกต่อไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มรายได้จากการปลูกขมิ้นชัน และเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางที่ผลิตจากขมิ้นชันอีกด้วย

คำสำคัญ : ขมิ้นชัน; โรคแอนแทรคโนส; หนอนกัดกินใบ; เคอร์คูมินอยด์

 

Abstract

The objectives of varietal improvement of Curcuma longa for higher quantitative and qualitative yields were to test and select the best yielding curcuma line based on its rhizome weight per plant, rhizome curcuminoid percentage in addition to its resistances to the anthracnose disease (Collettotrichum capsici) and leaf eating worm.  This research had been conducted from 2005 to 2009 by selecting 86 curcumin lines all over Thailand and there were 48 lines having such good characteristics mentioned above.  Those good lines were comparatively experimented in Thammasat campus and in other farmers’ growing areas in Pathumthani and Nakornnayok.  It had been found that TU04-9-1 line could perform the best by giving the highest yield of 4,270.17 kilogram fresh-rhizome weight per ria, 13.76 – 14.62% of rhizome dry weight, not over than 3.5% leaf area damaged by the anthracnose disease, not over than 3.0% leaf area damaged by the leaf eating worm, and rather high tolerance to the acid soil (pH 5.2 – 6.4). The TU04-9-1 line was therefore selected and multiplied for wide cultivation among Thai farmers.

Keywords: Curcuma longa; anthracnose disease; leaf eating worm; curcuminoid

Article Details

Section
บทความวิจัย