คุณภาพสิ่งแวดล้อมและแนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง

Main Article Content

ชัยพฤกษ์ วงศ์สุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำแม่กลอง ในบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออก และปากแม่น้ำแม่กลองตอนใน ซึ่งทำการศึกษาในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ฤดูแล้ง)  และในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ฤดูฝน) พบว่าคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งที่ศึกษาอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ในประเภทที่ 4 คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งปากแม่น้ำแม่กลองในพื้นที่ศึกษานี้มี ปริมาณออกซิเจนละลาย ในฤดูแล้งมีค่าระหว่าง 3.84-7.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ในฤดูฝน   มีค่าระหว่าง 4.4-6.4 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี ในฤดูแล้งมีค่าระหว่าง 1.07-4.93 มิลลิกรัมต่อลิตร ในฤดูฝนมีค่าระหว่าง 0.52-1.35 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณ ไนเตรทและไนไตรท์-ไนโตรเจน ในฤดูแล้งมีค่าระหว่าง 0.65-3.27 มิลลิกรัมต่อลิตร ในฤดูฝนมีค่าระหว่าง 0.83-1.71 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ในฤดูแล้งมีค่าระหว่าง 0.07-0.12 มิลลิกรัมต่อลิตร ในฤดูฝนมีค่าระหว่าง 0.05-0.09 มิลลิกรัมต่อลิตร องค์ประกอบอนุภาคตะกอนดินในฤดูแล้งมีโคลนซึ่งเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.64-10.07 ในฤดูฝนมีโคลนเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 2.22-9.14 ปริมาณอินทรียสารในตะกอนดิน ในฤดูแล้งมีค่าระหว่างร้อยละ 1.30-6.85 ของปริมาณตะกอนดิน และในฤดูฝนมีค่าระหว่างร้อยละ 1.43-7.05 ของปริมาณตะกอนดิน ส่วนการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิพบว่า ในปี พ.ศ. 2551  อัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรเฉลี่ยต่อปีต่อประชากร 1,000 คน ในพื้นที่ปากแม่น้ำแม่กลองตอนใน คือลดลง 10 คน ชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้น 1 คน และฝั่งตะวันออกเพิ่มขึ้น 4 คน อัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนบ้านเรือนเฉลี่ยต่อปีต่อบ้านเรือน 1,000 หลังคาเรือน ในพื้นที่ปากแม่น้ำแม่กลองตอนในเพิ่มขึ้น 15 หลังคาเรือน ชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก เพิ่มขึ้น 28 หลังคาเรือน และฝั่งตะวันออกเพิ่มขึ้น 60 หลังคาเรือน โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2511 ถึง พ.ศ. 2551 พบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 142 โรงงาน ในด้านแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำแม่กลอง พบว่ามีแนวโน้มการเจริญเติบโตของเมืองมีทิศทางไปในบริเวณพื้นที่ของ ตำบลแม่กลอง (ปากแม่น้ำแม่กลองตอนใน) และบริเวณตำบลบางแก้ว (ชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออก) ตามลำดับ ในด้านศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม กับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1 โรงงานอุตสาหกรรม อันดับที่ 2 สถานที่ท่องเที่ยว และอันดับที่ 3 แหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย ส่วนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง และทัศนียภาพและความสวยงาม อันดับที่ 2 ป่าชายเลน และคุณค่าการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอันดับที่ 3 คุณภาพตะกอนดิน ปัญหาขยะมูลฝอย ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวเนื่องกับ การจัดการสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และการศึกษาที่มีได้ในอนาคต ได้ถูกเสนอแนะแนบมาในการศึกษาฉบับนี้ด้วย

คำสำคัญ : คุณภาพสิ่งแวดล้อม; พื้นที่ชายฝั่งทะเล; ผลกระทบสิ่งแวดล้อม; ปากแม่น้ำแม่กลอง

 

Abstract

The study on environmental qualities was carried out at western part, eastern part and inner part of Maeklong River’s mouth during dry and wet season. The results of studies showed that water qualities in the study area was at the 4th level of standard for coastal aquaculture of Pollution Control Department. Water qualities of Maeklong River’s mouth were DO concentration 3.84-7.8 mg/l (dry season), 4.4-6.4 mg/l (wet season), BOD 1.07-4.93 mg/l (dry season), 0.52-1.35 mg/l (wet season), Nitrate and Nitrite nitrogen 0.65-3.27 mg/l (dry season), 0.83-1.71 mg/l (wet season), Phosphate phosphorus 0.07-0.12 mg/l (dry season), 0.05-0.09 mg/l (wet season). Elements of sediment particle found were clay 1.64-10.07 % (dry season), 2.22-9.14 % (wet season), Organic matters of sediment were 1.30-6.85 % (dry season), 1.43-7.05 % (wet season). Results from secondary data showed that population growth rate per year per 1,000 people in the area of inner Maeklong’s River mouth was decreased by 10 people, western area was increased by 1 people and eastern area was increased by 4 people. Growth rate of household per year per 1,000 household, inner Maeklong’s River mouth was increased by 15 household, western part was increased by 28 household and eastern part was increased by 60 household. The total number of industries on coastal area at Maeklong River’s mouth in period of 1968-2008 was recorded at 142. Land utilization in terms of development had likely expended to Maeklong and Bangkaew districts respectively. Types of development which had strongly impacted on resources and environment were industry plants, tourist activities and communities respectively. Main types of resources and environment which likely to received impact from development were water quality, mangrove forests, sediment qualities and garbage respectively. Various recommendations on environmental management and future study were also recommended.

Keywords: environmental quality; coastal area; environmental impact; Maeklong River’s mouth

Article Details

Section
บทความวิจัย