ผลของการเสริมเบต้ากลูแคนในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตสภาพมูลและค่าโลหิตวิทยาของสุกรรุ่น

Main Article Content

นิภารัตน์ ศรีธเรศ
เย็นจิต พรหมบุญ
ชิต ศิริวรรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การใช้เบต้ากลูแคนเสริมในอาหารเพื่อทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของสุกร ได้ทำการศึกษาโดยใช้สุกรหย่านม 30 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) โดยแบ่งสุกรเป็น 5 กลุ่มๆละ 6 ซ้ำ คือ อาหารที่ไม่เสริมสารปฏิชีวนะ (กลุ่มควบคุม) อาหารที่เสริมสารปฏิชีวนะ (Colistin) 10 ppm อาหารที่เสริมด้วยเบต้ากลูแคนที่ระดับ 75, 125 และ 250 ppm ตามลำดับ ให้สุกรกินอาหารและน้ำอย่างเต็มที่ (ad libitum) นาน 10 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน และอัตราแลกน้ำหนัก สภาพของมูลและอาการท้องเสีย ในทุกสิ่งทดลองมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ค่าโลหิตวิทยามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม (P>0.05) โดยสุกรทั้ง 4 กลุ่ม มีค่าเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวอยู่ในช่วงปกติ แต่สุกรในกลุ่มควบคุม พบว่ามีค่าเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติผลการวิจัยนี้ชี้ว่าการใช้เบต้ากลูแคนเสริมในอาหารสุกร ไม่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิต และการป้องกันการเกิดท้องเสียในลูกสุกร  แต่มีแนวโน้มในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันสุกรเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : เบต้ากลูแคน; สมรรถภาพการผลิต; ค่าโลหิตวิทยา; สุกรรุ่น; สภาพมูล

 

Abstract

The experiment was conducted to study the effect of  beta-glucan supplement in diets as an alternative to antibiotic on growth performance and immune enhancer in  swine production. Thirty weaning pigs were randomly allocated into 5 treatments, each with 6 replicates, in a Completely Randomized Design. The dietary treatments were no feed additive in diet as the control, diet plus 10 ppm antibiotic Colistin, diets containing different levels of beta-glucan at 75, 125 and 250 ppm, respectively. Feed and water were fed  ad libitum for 10 weeks. The results demonstrated that average daily weight gain (ADG), feed intake (FI), and feed conversion ratio (FCR) as well as fecal condition and diarrhea symptom were not significantly different (P > 0.05) among  the treatments. Hematological parameters showed that the experimental pigs in 4 treatments had the average of red blood cell and white blood cell in the normal standard. But the control pigs had higher white blood cell  than the normal standard. It indicated that beta-glucan did not affect on ADG, FCR and the diarrhea prevention but  trended to increase health immunity in the pigs.

Keywords: beta-glucan; performance; blood parameter; growing pig; fecal condition

Article Details

Section
บทความวิจัย