ความหลากหลายของโรติเฟอร์ในแหล่งน้ำรอบอาคาร SME ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2551

Main Article Content

อภินันท์ เอี่ยมสุวรรณสุข
เทพปัญญา เจริญรัตน์
นิติ พานิชเกษม
สุเปญญา จิตตพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

ศึกษาความหลากหลายของโรติเฟอร์ในแหล่งน้ำรอบอาคาร SME มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2551  พบโรติเฟอร์ทั้งสิ้น 34 ชนิด  ซึ่ง Lecane เป็นสกุลเด่น (41.2 เปอร์เซ็นต์) ของสังคมโรติเฟอร์ รองลงมาได้แก่ Brachionus (17.7 เปอร์เซ็นต์) และ Lepadella (14.7 เปอร์เซ็นต์)  ตามลำดับ โรติเฟอร์มีความหนาแน่นมากที่สุดในเดือนมิถุนายน (269.6 ตัวต่อลิตร) รองลงมาคือเดือนสิงหาคม (180 ตัวต่อลิตร) เดือนกรกฎาคม (130.6 ตัวต่อลิตร) และเดือนกันยายน (128.77 ตัวต่อลิตร) ตามลำดับ  D มีค่าสูงสุดในเดือนกันยายน (6.07) รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม (5.89) เดือนสิงหาคม (4.86) และเดือนมิถุนายน (4.85) ตามลำดับ และ H’ มีค่าสูงสุดในเดือนกันยายน (2.19) รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม (2.07) เดือนมิถุนายน (2.04) และเดือนสิงหาคม (1.90) ตามลำดับ  จากการวิเคราะห์ DCA และ CCA พบว่าลักษณะของพื้นที่มีผลต่อสังคมโรติเฟอร์ ส่วนปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ไม่มีผลต่อการแพร่กระจายของโรติเฟอร์

คำสำคัญ : โรติเฟอร์; ความหลากหลาย; ความชุกชุม; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

Abstract

Diversity of rotifers in inland water surrounding SME building at Thammasat University, Rangsit Campus during June and September 2008 was examined. The total number of 34 rotifer species was identified. The most speciose genus was found to be Lecane (41.2%), followed by Brachionus (17.7%) and Lepadella (14.7%).  The maximum abundance of rotifers was occurred in June (269.6 ind.L-1), followed by in August, July and September (180, 130.6 and 128.8 ind.L-1) respectively. The highest D was calculated for the samples in September (6.07), followed by in July, August and June (5.89, 4.86 and 4.85 respectively). The highest H’ was calculated for the samples in September (2.19), followed by in July, June and August (2.07, 2.04 and 1.90 respectively). DCA and CCA showed that microhabitat influences on rotifer community. No important environmental variables resulting rotifer community were observed.

Keywords: Rotifera; diversity; abundance; Thammasat University

Article Details

Section
บทความวิจัย