ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพต่อผลผลิตเห็ดฟางที่เพาะในตะกร้าพลาสติก

Main Article Content

สุทธิชัย สมสุข

Abstract

บทคัดย่อ

การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดในตะกร้าได้ดำเนินการในโรงเรือนทดลอง ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ปทุมธานี  ตั้งแต่เดือน เมษายน 2551 – เมษายน 2552  ประกอบด้วย 3 การทดลอง ดังนี้ 1)  เปรียบเทียบผลผลิตเห็ดฟางในการเพาะด้วยการใช้ฟางข้าว,  ขี้เลื่อยผ่านการเพาะเห็ดมาแล้วและขี้เลื่อยไม้ยางพารา   โดยการแช่ฟางข้าวเป็นเวลา 12 ชั่วโมง  ในน้ำหมักจุลินทรีย์อีเอ็ม (EM) ในน้ำหมักจากสูตร  สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ในน้ำที่ผสมกับเชื้อจุลินทรีย์ พด 1,2 และ 3 (กรมพัฒนาที่ดิน)   เชื้อ Bacillus  subtilis (Bs) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแช่น้ำเปล่า ส่วนขี้เลื่อยที่ใช้แล้วและขี้เลื่อยใหม่หมักเป็นเวลา  9  วัน  กับน้ำหมักจุลินทรีย์และน้ำผสมจุลินทรีย์ต่าง ๆ  เช่นเดียวกันกับการทดลองฟางข้าว  มีการวางแผนแบบ Factorial (3x5) in  RCBD มี 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ตะกร้า   ผลการทดลอง  พบว่า  การเพาะด้วยฟางข้าวแช่น้ำ 12 ชั่วโมง  ให้ผลผลิตสูงสุด  529.40 กรัม/ตะกร้า  แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสิ่งทดลองอื่น ๆ ส่วนขนาดของดอกไม่แตกต่างกัน  2) เปรียบเทียบผลผลิตการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าโดยใช้ฟางข้าวแช่น้ำ 12 ชั่วโมง เป็นวัสดุเพาะ (คัดเลือกจากการทดลองที่ 1)  แต่ใช้วัสดุที่เป็นอาหารเสริมแตกต่างกัน  ดังนี้ ใช้ภูไมค์  ขี้ฝ้าย  ผักตบชวา  รำละเอียด  และเปรียบเทียบกับการใช้ผักตบชวาเพาะร่วมกับขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะมาแล้ววางแผนแบบ RCB  มี 5 ซ้ำ ๆ ละ 3 ตะกร้า โดยใช้อาหารเสริมในอัตรา 6% ของ นน.แห้งวัสดุเพาะ  ผลการทดลอง   การใช้ขี้ฝ้ายเป็นอาหารเสริมนั้นให้ผลผลิตสูงสุด คือ 572.52 กรัม/ตะกร้า  ส่วนขนาดของดอกไม่แตกต่างกัน  3)  ทดลองหาปริมาณที่เหมาะสมของการใช้ขี้ฝ้ายเป็นอาหารเสริมโดยทดลองในอัตรา 2, 4, 6, 8 และ 10%   วางแผนการทดลองแบ RCBD  มี 5 ซ้ำ ๆ ละ 3  ตะกร้า  ผลการทดลองพบว่าการใช้ขี้ฝ้าย 8% ของวัสดุเพาะหรือประมาณ 200 กรัม/ตะกร้า  มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงสุด 562.10 กรัม/ตะกร้า

คำสำคัญ : วัสดุเพาะ; วัสดุอาหารเสริม; กลุ่มจุลินทรีย์; น้ำหมักชีวภาพ; เห็ดฟาง


Abstract

Technology  development  of  straw  mushroom  cultivation  in plastic  basket  was  conducted at the Department  of  Agricultural  Technology,  Thammasat  University,   Pathumthani during   April 2008 - April 2009  comprising  3 experiments as follows  1 ) Comparison of   production yield of straw mushroom  cultivated  by  using  rice straw, Oyster  mushroom substrate  residues  and pararubber  sawdust  as substrates.  Rice straw  was treated  by  soaking for  12  hours in water,  effective  microorganism  bioextract (EM), bioextract  prepared  according  to the formula of  Thailand   Institute  of  Scientific  and   Technological  Research (TISTR),  in dilution  of  Bacillus  subtilis  from Kasetsart  University  and  in dilution of mixture of bioactive powder  formulation No. 1, 2  and 3  of  Land Development  Department  (LDD).  Mushroom  substrate residues and  sawdust were treated  for 9 days  by  fermenting with  water,  bioextract  and  bioactive   microorganism  as  mentioned  above.  The experiment was designed in Facterial (3x5)  in  RCBD with 5 replications. The result  revealed that straw mushroom  growing on rice straw  soaked in water  for 12 hours gave the significantly  highest  production yield in terms  of fresh weight 529.40 gm/basket  2 ) Comparision  of production yield of  straw mushroom grown on rice straw  substrate  selected  from   the  trial 1 with different supplements (6% of dry weight of substrate) : waste cotton, pumice, rice bran, fresh water hyacinths were compared  to the treatment of using Oyster mushroom substrate residues as substrate supplemented with fresh water hyacinth. The experiment designed in RCBD with 5 replications, showed that the substrate supplemented with  waste cotton gave the significantly  highest  yield (572.52 gm/basket)  3 ) Straw mushroom cultivated on rice straw substrate supplemented with different rates of waste cottons, 2, 4, 6, 8, 10 percents of dry weight of substrate showed no  significance in producing yield between 485.20 – 562.10 gm/basket; while the 8% supplement tended to give the highest yield.

Keywords: cultivation substrate; supplemented materials treated; effective microorganism; bioextracts; straw mushroom

Article Details

Section
บทความวิจัย