การขยายพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองและหายาก “นางอั้วสาคริก” โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การทดลองขยายพันธุ์กล้วยไม้นางอั้วสาคริกโดยการเพาะฝักอ่อน และฟอกฆ่าเชื้อที่ติดมากับเมล็ด ด้วยสารละลายคลอรอกซ์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เมื่อเปรียบเทียบสารละลายทั้งสองชนิดที่ทำให้ได้เมล็ดกล้วยไม้ปราศจากการปนเปื้อน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมล็ดกล้วยไม้นางอั้วสาคริกมีอัตราการงอกใกล้เคียงกัน คือ 73.02 และ72.76 เปอร์เซ็นต์ (ตามลำดับ) หลังจากบ่มเมล็ดกล้วยไม้นางอั้วสาคริกไว้ในที่มืดเป็นเวลานาน 4 เดือน ย้ายลงเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตรVacin and Went (VW) ดัดแปลง โดยเติมน้ำมะพร้าวอ่อน หรือน้ำสกัดมันฝรั่งที่ความเข้มข้นต่าง ๆกัน (10%, 15% และ 20 %) รวมทั้งเติมธาตุอาหารรองและไวตามินของอาหารสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (MS) นานอีก 4 เดือน ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของโปรโตคอร์มที่พัฒนาและเจริญมาจากเมล็ดกล้วยไม้นั้น มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) คือบนอาหารสังเคราะห์สูตร VW ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าวอ่อน 10% มีจำนวนโปรโตคอร์มเกิดขึ้นสูงที่สุด หลังจากนั้นย้ายโปรโตคอร์มลงเลี้ยงบนอาหารสูตรดัดแปลงสูตร VW เดิม อีก 3 ครั้งโดยทำการเปลี่ยนอาหารทุก ๆ 4 สัปดาห์ ผลปรากฏว่าจำนวนโปรโตคอร์มที่มีการพัฒนาเจริญเป็นต้นอ่อนบนอาหารแต่ละสูตรนั้นมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ต้นอ่อนที่เกิดขึ้นบนอาหารสังเคราะห์สูตร VW ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว 15%ให้ผลดีที่สุด
คำสำคัญ : นางอั้วสาคริก; โปรโตคอร์ม
Abstract
Microprogation Pecteilis sagarikii by culturing young pod was investigated. The clorox and hydrogen peroxide solutions were compared for young seed sterilization, and it was not significantly different between treatments. The percentages of Pecteilis sagarikii seed germination were 73.02 and 72.76, respectively. Pecteilis sagarikii seeds were incubated in the dark condition for 4 months, then were cultured on modified Vacin and Went medium supplemented with young coconut water, potato extraction at different concentrations (10% ,15%, and 20%) or with microelement and vitamin of Murashige and Skoog medium for 4 months. The average growth and development of protocorms were significantly different (p<0.05) among treatments. Modified VW medium supplemented with 10% young coconut water gave the best result. The protocorms were transferred 3 times (subcultured every 4 weeks) to the same modified VW medium. The average number of protocorms which developed to be seedlings was significantly different (p<0.05) among treatments. Modified VW medium supplemented with 15% young coconut water gave the highest number of seedlings.
Keywords: Pecteilis sagarikii Sedenf.; Protocorm like bodies