การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุภกร บุญยืน
ศราวุธ ลันวงษา
ศิริวิทย์ บัวเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

ตัวอย่างน้ำผิวดินจากตัวอย่างสี่แหล่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดปทุมธานี ได้ถูกนำมาศึกษาหาปริมาณสารอนินทรีย์ และโลหะปนเปื้อน โดยอาศัยเทคนิค ICP-OES spectroscopy แล้วปริมาณสารที่ตรวจสอบได้ถูกนำมาสร้างความสัมพันธ์กับระยะเวลาในช่วงเดือน เมษายน ถึง มิถุนายน 2550 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสะสมของโลหะเหล่านั้น ปริมาณตะกอนที่แขวนลอยในแหล่งน้ำ อยู่ในช่วง 180-300 พีพีเอ็ม จากการวิเคราะห์โลหะชนิดต่างๆ พบโซเดียมในปริมาณมากซึ่งอาจจะมาจากเกลือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) นอกจากนี้ผลการศึกษาพบ ธาตุอลูมิเนียม ซิลิกอน และโซเดียม ปริมาณมากบนผิวตะกอน ซึ่งมากกว่าค่ามาตรฐาน แต่ปริมาณของธาตุเหล่านี้พบเพียงเล็กน้อยในตัวอย่างน้ำที่ผ่านการกรองแล้ว นอกจากนี้ปริมาณโลหะหนัก ที่เป็นอันตรายพบในปริมาณต่ำกว่าค่าที่กำหนดสำหรับมาตรฐานน้ำผิวดิน ยกเว้น ตะกั่ว ที่พบปริมาณ 0.08-0.14 พีพีเอ็ม ซึ่งมากกว่าค่ามาตรฐาน แต่ก็ยังมีปริมาณต่ำกว่ามาตรฐานสำหรับน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสากรรม ตัวอย่างน้ำจากทั้งสี่แหล่งที่ศึกษา มีคุณภาพดีตามมาตรฐานประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ การเปรียบเที่ยบปริมาณของโลหะในแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณปากคลองพิกุล พบว่า ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม และแมงกานีส สะสมมากบริเวณปากคลองพิกุล และมีปริมาณการสะสมมากขึ้นในระยะเวลา 3 เดือน โดยเพิ่มจาก 0.8 พีพีเอ็ม เป็น 1.8 พีพีเอ็ม สำหรับ เหล็ก จาก 0.05 พีพีเอ็ม เป็น 0.08 พีพีเอ็ม สำหรับ แคลเซียม จาก 5 พีพีเอ็ม เป็น 9 พีพีเอ็ม สำหรับ แมกนีเซียม และ จาก 0.05 พีพีเอ็ม เป็น 0.22 พีพีเอ็ม สำหรับ แมงกานีส จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีการสะสมของโลหะบนตะกอนที่แขวนลอยในน้ำ และการสะสมนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายได้ในอนาคต

คำสำคัญ : โลหะหนัก; แม่น้ำเจ้าพระยา

 

Abstract

Surface water from four different sites along the Chao Praya River in Patumthanni province were analyzed for inorganic solid and metal content by using ICP-OES spectroscopy, and the results were plotted as a function of time (April –June 2007) for the study of metal accumulation. Inorganic solid particles from each site were in the range 180-300ppm. Quantitative analysis showed high content of sodium, which could be derived from sodium chloride (NaCl), thus enhanced the amount of solid particle in the dried samples. Aluminium (Al), Silicon (Si) and sodium (Na) concentrations observed in particular were higher in sediment than the background levels, as the lower content of such metals were in the filtered water sample. Concentrations of heavy metals were below the legal limits for surface water, extract for lead (Pb) which was above the limits. However those concentrations were still within the limit for the industrial waste water regulation. The water quality from all sites met the requirement for good surface water. Comparison beyween metal concentrations in Chao Praya River and those in Pikul dog revealed that there was metal (Fe, Ca, Mg and Mn) accumulation in Pikul dog.  A positive correlation was observed between accumulation concentrations of Fe, Ca, Mg, Mn over the period of 3 months, which increased from 0.8 to 1.8 ppm, 0.05 to 0.08 ppm, 5 to 9 ppm, and 0.05 to 0.22 ppm, respectively, the results indicated that the pollution from metal accumulation could occur and cause the danger in the future.

Keywords: heavy meatal; Chao Praya River

Article Details

Section
บทความวิจัย