ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) ในองค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

Main Article Content

มณฑลี ศาสนนันทน์
สิตาพร สายแสงจันทร์

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการวิเคราะห์หาลำดับความสำคัญของปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management, TQM) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างขององค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award, TQA) และรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class, TQC) จากสำนักเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จำนวน 9 แห่ง การศึกษาองค์กรที่จัดว่าเป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้ TQM จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือและก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้สนใจ กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ TQM และนำผลที่ได้มาสร้างเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ  การเก็บข้อมูลกระทำโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางถึงสูง ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับประยุกต์ใช้ TQM  จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้วยกระบวนลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process)  เพื่อให้ทราบถึงระดับความสำคัญของปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำ TQM  ผลการวิเคราะห์พบว่า องค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการบริหารภายในองค์กรเป็นอันดับแรก ตามด้วยวัฒนธรรมและคนในองค์กร การบริหารภายนอกองค์กร และระบบและเทคนิค ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการศึกษายังอธิบายถึงปัจจัยย่อยที่องค์กรควรให้ความสำคัญซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในเนื้อหาต่อไป ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรต่างๆ ที่สนใจประยุกต์ใช้ TQM  ให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพื่อให้องค์กรสามารถตัดสินใจเลือกพัฒนาปัจจัยนั้นๆ ตามลำดับความสำคัญได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

คำสำคัญ : ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร; ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ; รางวัลคุณภาพแห่งชาติ; กระบวนลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์

 

Abstract

This article examines the relative importance of critical success factors (CSF) for Total Quality Management (TQM) implementation. The case studies are nine award winners of the Thailand Quality Award (TQA) and the Thailand Quality Class (TQC) which are administered by Thailand Productivity Institute.  Investigation on the best-in-class companies helps ensure the validity and reliability of findings and ensure that the results will be useful for interested parties. The research started with a review of literature on the CSF’s of TQM. The outcomes were then synthesized into a set of questionnaires which were distributed to those responsible for TQM in the case studies. The data were analyzed by employing the Analytical Hierarchy Process (AHP) to reveal the relative importance of the CSF’s of TQM implementation. The findings revealed that the most important CSF was internal management, followed by organization and culture, external management, and systems and techniques, respectively. The findings regarding the importance of various subfactors were also discussed to provide guidelines for Thai organizations interested in implementing TQM.

Keywords: TQM; critical success factor; Thailand Quality Award; AHP

Article Details

Section
บทความวิจัย