พฤติกรรมและความต้องการใช้ทางหลวงพิเศษของผู้ใช้บริการทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ 9

Main Article Content

เพ็ญแข ศิริวรรณ
แสงหล้า ชัยมงคล

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้ทางหลวงพิเศ ษ (มอเตอร์เวย์) ของผู้ใช้บริการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 7 และ 9 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเดินทางและการขนส่งสินค้าของผู้ใช้มอเตอร์เวย์ ตลอดจนสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมของมอเตอร์เวย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันอันเนื่องมาจากการใช้มอเตอร์เวย์ และความต้องการและปัญหาการใช้มอเตอร์เวย์ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการสุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการมอเตอร์เวย์แบบ Stratified Random Samplingโดยจำแนกผู้ใช้บริการตามประเภทของรถ (รถ 4 ล้อ รถ 6 ล้อ และรถมากกว่า 6 ล้อ) จำนวนตัวอย่าง 2,139 ราย และใช้วิธีการสุ่มแบบโควต้า ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเจ้าของกิจการ/ ผู้บริหารกิจการ และพนักงานขับรถของบริษัทหรือหน่วยงานที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่บริเวณเส้นทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 พาดผ่านจำนวนรวม 120 และ 150 รายตามลำดับ  ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ใช้มอเตอร์เวย์ที่มีวัตถุประสงค์การใช้ต่างกัน หรือผู้ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ต่างกัน จะมีพฤติกรรมการใช้มอเตอร์เวย์ ความคาดหวังและความต้องการเกี่ยวกับมอเตอร์เวย์ ตลอดจนความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีมอเตอร์เวย์ ในเรื่องประโยชน์/ ผลกระทบของการมีมอเตอร์เวย์ และความพึงพอใจต่อการให้บริการมอเตอร์เวย์ของผู้ใช้มอเตอร์เวย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

คำสำคัญ : การวิจัยเชิงสำรวจ; มอเตอร์เวย์; การชักตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ; การชักตัวอย่างแบบโควตา

 

Abstract

The objectives of the behavior and needs survey of the users of motorway number 7 and 9 are to observe the journey pattern and the transportation of goods. The survey also aims   to observe the opinion of the motorway users on direct and indirect benefits of motorway, how motorway impacts their everyday lives, and needs and issues that the motorway users faced from using motorway. The Stratified Random Sampling and Quota Sampling techniques were used in the survey process. The Stratified Random Sampling technique was used to sample 2,139 motorway users based on vehicle type (4-wheel, 6-wheel, and more than 6-wheel). The Quota Sampling technique was used to select 270 entrepreneurs/managers and drivers of the companies or agencies located around motorway number 7 and 9. The survey revealed that the expectations and the needs of the motorway users, the opinion of motorway users about benefits and the effects of motorway, and the satisfaction of the motorway users vary by the objectives of using motorway and the route of motorway and they are statistically different at confidence level of 95%

Keywords: survey research; motorway; stratified random sampling; quota sampling

Article Details

Section
บทความวิจัย