แนวทางการฟื้นฟูส่วนภายนอกของศูนย์การค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพการเข้าใช้พื้นที่ศูนย์การค้า

Main Article Content

พิชญะ พูลสูรพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

พื้นที่ภายนอกของศูนย์การค้าประกอบด้วย การสัญจร พื้นที่สาธารณะ ทางเชื่อมและทางเข้าของศูนย์การค้า โดยการศึกษามีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาตัวแปรและปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดการฟื้นฟูส่วนภายนอกศูนย์การค้า ศึกษารูปแบบองค์ประกอบในด้านการออกแบบและการจัดการตามหลักการฟื้นฟูศูนย์การค้า ประเมินผลศักยภาพการเข้าไปใช้พื้นที่หลังการฟื้นฟูอาคารศูนย์การค้าจากการวิเคราะห์ทัศนคติของกลุ่มผู้เข้าไปใช้งานอาคาร  รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการฟื้นฟูอาคารศูนย์การค้ากับศักยภาพการเข้าไปใช้พื้นที่จากสถิติของศูนย์การค้าที่ทำการศึกษา เพื่อนำเป็นแนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ภายนอกอาคารศูนย์การค้าจากการวิเคราะห์แบบสำรวจแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่าการฟื้นฟูพื้นที่ภายนอกนั้นในการเดินทางเข้าสู่พื้นที่ศูนย์การค้าทางศูนย์การค้าควรเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ใช้พื้นที่ในทุกเส้นทางต่อการเข้าถึงพื้นที่ของผู้ใช้พื้นที่ศูนย์การค้า พื้นที่สาธารณะทางศูนย์การค้าควรมีการจัดการพื้นที่ที่คำนึงถึงขนาด องค์ประกอบในพื้นที่ รวมถึงภาพลักษณ์ของศูนย์การค้าภายนอก ทั้งเรื่องของความปลอดภัย และความสะอาดของพื้นที่ ตลอดจนในเรื่องของทางเชื่อมต่อและทางเข้าควรมีการออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เชื่อมต่ออยู่ และสามารถเข้าถึงพื้นที่ศูนย์การค้าได้จากทุกด้านของอาคาร โดยแนวทางดังกล่าวจะก่อให้เกิดการเข้าใช้พื้นที่ที่เพิ่มขึ้น เพื่อก่อให้เกิดชุมชน และช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวต่อไป

คำสำคัญ : การฟื้นฟู; ส่วนภายนอกของศูนย์การค้า; การเข้าใช้พื้นที่ศูนย์การค้า

Abstract

The External spaces and areas of shopping mall those are strongly related and connected by the circulation of public way, side walk and entrance. This research aims to reveal the impacted factors and variables. For the external revitalization of shopping mall and its contexts.  Overall, the research covered is comprised of several different kind of data and distinct approach these include : 1) the results of previous research and related studies 2)  surveys of existing building environment of 3-selected projects as the case studies and 3) opinions of building users. The results of the research show that the external revitalization of shopping mall to maximize potential of people’s accessibility is defined by and elaborated through factors such as accessibility of building include building organization and decoration. Another factor considered is building’s component and facilities. To be successful in shopping and trading culture must consider factor of external organization of revitalization with appropriate design and spaces management, which can have positive environment images as well. The design guidelines must allow the management team to participate more fully in design process, so their perspective can be taken into consideration.

Keywords: external revitalization of shopping mall; potential of People’s accessibility

Article Details

Section
บทความวิจัย