การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนของสถานีอุตุนิยมวิทยาและสถานีอากาศเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของปริมาณน้ำฝนรายเดือนของสถานีอุตุนิยมวิทยาและสถานีอากาศเกษตรต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของวิธีการพยากรณ์ต่างๆ ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ วิธีแยกส่วนประกอบ วิธีการพยากรณ์ของวินเตอร์ และวิธีการพยากรณ์ของบอกซ์-เจนกินส์ ซึ่งพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percent Error: MAPE) โดยศึกษากับข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539–2548 เพื่อพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งนำมาใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ และทำการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนล่วงหน้า 2 ปี คือ ปี พ.ศ.2550 และ 2551 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนของสถานีอุตุนิยมวิทยาและสถานีอากาศเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 26 สถานี พบว่า วิธีแยกส่วนประกอบให้ค่า MAPE ต่ำที่สุด จำนวน 8 สถานี คิดเป็นร้อยละ 30.77 วิธีการพยากรณ์ของวินเตอร์ ให้ค่า MAPE ต่ำที่สุด จำนวน 1 สถานี คิดเป็นร้อยละ 3.85 และวิธีการพยากรณ์ของบอกซ์-เจนกินส์ ให้ค่า MAPE ต่ำที่สุด จำนวน 17 สถานี คิดเป็นร้อยละ 65.38 เมื่อพิจารณาในภาพรวม จะเห็นได้ว่าวิธีการพยากรณ์ของบอกซ์-เจนกินส์เป็นวิธีการที่เหมาะกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายเดือนมากที่สุด รองลงมาคือ วิธีแยกส่วนประกอบ และวิธีการพยากรณ์ของวินเตอร์ ตามลำดับ

คำสำคัญ : การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝน; สถานีอุตุนิยมวิทยา; สถานีอากาศเกษตร

 

Abstract

The objectives of this research are to study the movement of monthly rainfall amount of meteorological stations and agrometeorological stations in northeastern Thailand and to compare the error of forecasting methods: Decomposition method, Winters’ forecast method, and Box-Jenkins’ forecast method. The comparison was considered by Mean Absolute Percent Error (MAPE). The method which gives the lowest MAPE is the most suitable method. Data used to forecast the monthly rainfall amount in 2006 are taken from the past monthly rainfall amount records of 1996-2005.  Then, we forecast the monthly rainfall amount in 2007-2008. Results of the research are as follows: In the study which compares the forecasting models for monthly rainfall amount of meteorological stations and agrometeorological stations (26 stations), there are 8 stations (30.77%) that Decomposition method has given the lowest MAPE. Winters’ forecast method gives the lowest MAPE in one station (3.85%). In addition to, there are 17 stations (65.38%) that Box-Jenkins’ forecast method has given the lowest MAPE. The results show that the Box-Jenkins’ forecast method is the most suitable method of monthly rainfall amount.

Keywords: monthly rainfall amount forecasting; meteorological stations; agrometeorological stations

Article Details

Section
บทความวิจัย