แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ศูนย์การเรียนชุมชน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตพระโขนง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบกิจกรรมของผู้ใช้งานที่เกิดขึ้นภายในศูนย์การเรียนชุมชน รวมถึงศึกษาความต้องการเพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ ของผู้ใช้งานในศูนย์การเรียนชุมชน และเสนอแนวทางการจัดการในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ศูนย์การเรียนชุมชน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) จำนวน 300 คน และผู้พักอาศัยในบริเวณโดยรอบศูนย์การเรียนชุมชนที่เลือกศึกษา จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการอภิปรายผลด้วยการวิเคราะห์สังกัป (concept) ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการเข้าไปใช้พื้นที่ภายในศูนย์การเรียนชุมชนของผู้ใช้งาน คือ เพื่อเรียนหนังสือหลักสูตรของการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) รองลงไปคือ ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรเพิ่มเติมในส่วนของกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาเล่าเรียนและองค์ความรู้ ต่าง ๆ รวมถึงปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการทั้งในด้านบุคคล เช่น เพิ่มเติมในส่วนของบุคลากรต่าง ๆ เช่น ครูผู้สอนที่มีคุณภาพ แนวทางการจัดการด้านอาคารสถานที่ เช่น สถานที่ตั้งศูนย์การเรียนชุมชนควรมีพื้นที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน เข้าถึงได้ง่าย และมีอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่พร้อมและเพียงพอต่อการใช้งาน และแนวทางการจัดการด้านแผนงานดำเนินโครงการ เช่น ใช้วิธีการที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์หรือดึงดูดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้งานศูนย์การเรียนชุมชนให้มากยิ่งขึ้น โดยแนวทางดังกล่าวข้างต้น จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ศูนย์การเรียนชุมชน รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาชุมชน
คำสำคัญ : ศูนย์การเรียนชุมชน; การจัดการ; ศักยภาพ
Abstract
The purposes of this research are to study activities and needs of users in Community Learning Centers, to submit management guidelines to maximize potential of Community Learning Centers. The sample of this research is 300 students who study in non - formal education curriculum and 100 peoples who live around Community Learning Centers. Questionnaires were distributed for data collection. Data were analyzed using percentage and concept analysis. The research result found that the main purposes of users in Community Learning Centers is study in non - formal education curriculum and use spaces for activities in different occasion, in addition, should increase activities that concern with educations and knowledges. Changeover people management guidelines such as increase quality teachers, place management guidelines such as site of Community Learning Centers should be located in community area that is simply approached and should have enough equipments for users. Finally, process management guidelines such as use procedures for public relations and attracting more people to come to use the Community Learning Centers should be available. This guideline will increase the maximum potential of Community Learning Centers and encourage learning and developing the community.
Keywords: community learning center; management; maximize potential