การวิเคราะห์หาหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเสี่ยงต่อความแห้งแล้งระดับลุ่มน้ำด้วยระบบภูมิสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งระดับลุ่มน้ำด้วยระบบภูมิสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชี (2) วิเคราะห์หาหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเสี่ยงต่อความแห้งแล้งระดับลุ่มน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชี โดยนำแบบจำลอง Index Model และกระบวนการวิเคราะห์แบบพหุเกณฑ์ (MultiCriteria Decision Analysis :MCDA) มาใช้ในการวิเคราะห์ตัวแปร ในแบบจำลองสมการด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักแบบง่าย (Simple Additive Weighting : SAW) ตามเกณฑ์การให้คะแนนของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยดังนี้ ปริมาณน้ำฝน โอกาสที่เกิดฝนตก ดัชนีความแห้งแล้ง การใช้ประโยชน์ที่ดิน เขตชลประทาน การอุ้มน้ำของดิน และความหนาแน่นของลำน้ำ ขนาดลุ่มน้ำย่อย และแผนที่ขอบเขตการปกครอง มาตราส่วน 1: 50,000 ผลการศึกษาพบว่า (1) พื้นที่ครอบคลุมลุ่มน้ำชีมีพื้นที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งมาก มีเนื้อที่ 8,952.99 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 18.18 ของพื้นที่ พื้นที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งปานกลาง มีเนื้อที่ 23,521 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 47.75 ของพื้นที่ พื้นที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งน้อย มีเนื้อที่ 15,620 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 31.71 ของพื้นที่ และพื้นที่ไม่เสี่ยงต่อความแห้งแล้ง มีเนื้อที่ 1,163.55 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 2.36 ของพื้นที่ (2) พบว่าหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชีที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งมาก 1,755 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 21.69 เสี่ยงต่อความแห้งแล้งปานกลาง 4,294 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 53.07 เสี่ยงต่อความแห้งแล้งน้อย 1,764 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ไม่เสี่ยงต่อความแห้งแล้ง 278 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.44 ของหมู่บ้านทั้งหมด โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่นมีหมู่บ้านที่เสี่ยงภัยแล้งมากที่สุดถึง 489 หมู่บ้าน
คำสำคัญ : ภูมิสารสนเทศ; การวิเคราะห์แบบพหุเกณฑ์; ภาวะเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง; ลุ่มน้ำชี
Abstract
This research had been carried out to analyze 1) the drought risk in the Chi basin area using Geo-Informatics for Multiple Criteria Decision Analysis (MCDA), 2) any villages affected from the drought risk in Chi basin area using the index model and the procedure of MCDA, which were used for factor analysis by the Simple Additive Weighting (SAW) according to the criteria of the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. The investigated factors included rainfall, the change of rainfall, drought index, land use, irrigation zone, soil, the density of stream, the level of sub basin, and the boundary of ministry with the scale of 1:50,000. The research results revealed that 1) 8,952.99 square kilometers (18.18 %) of the Chi basin area was highly risky, 23,521 square kilometers (47.75 %) was moderately risky, 15,620 square kilometers (31.71 %) was slightly risky, and 1,163.55 square kilometers (2.36 %) was not risky to the drought, 2) 1,755 villages (21.69 %) were highly risky, 4,294 villages (53.07 %) were moderately risky, 1,764 villages (21.80 %) were slightly risky, and 278 villages (3.44%) were not risky to the drought. The results also showed that there were 489 villages in Khon Kaen province found to be most highly risky to the drought.
Keywords: geo-Informatics; multiple criteria decision analysis, drought risk and Chi Basi