การประเมินปริมาตรไม้และน้ำยางพาราในเขตพื้นที่สงเคราะห์การทำสวนยางพารา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ศึกษาโดยใช้แบบจำลองเพื่อประเมินการให้ผลผลิตไม้ยางและน้ำยางพาราพันธุ์ RRIM 600 ในสวนยางพาราซึ่งได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางพาราตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2548 จำนวน 18,810 ไร่ เพื่อคาดคะเนผลผลิตบริเวณอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยแบ่งตามอายุของต้นยางพารา คือ 1) อายุ 2 ปี 2) อายุ 5 ปี 3) อายุ 12 ปี 4) อายุ 16 ปี และ 5) อายุ 26 ปี และในแต่ละช่วงอายุใช้จำนวน 80 ต้น/ไร่ ผลการทดลอง พบว่า สามารถประเมินปริมาตรไม้ (ลบ.ม./ไร่) ในแต่ละช่วงอายุจากสมการ y = 0.646 + 0.207A - 0.188H + 3.554B (r2= 0.99) เช่นเดียวกับการใช้ปัจจัยดินปลูกและข้อมูลอากาศ ได้สมการประเมินผลผลิตน้ำยางพารา y = 0.1223x + 318.43 (r2= 0.76) จากผลการประเมินดังกล่าวสามารถคาดคะเนได้ว่า ในปี พ.ศ. 2560 บริเวณพื้นที่ดังกล่าวจะมีผลผลิตไม้ยางพาราประมาณ 236,000 ลบ.ม. และน้ำยางพาราประมาณ 7,026 เมตริกตัน
คำสำคัญ : การคาดคะเนผลผลิต; น้ำยาง; ไม้ยาง; ยางพารา
Abstract
A modeling approach was used for the evaluation of the stem volume and latex yield of rubber tree RRIM 600 clone with 18,810 rai in the Office of Rubber Replanting Aid Fund’s (ORRAF) replanting program in 1995-2005. An experimental site was established at The-pha district, Songkhla province as follows 1) 2-year-old rubber trees, 2) 5-year-old rubber trees, 3) 12-year-old rubber trees, 4) 16-year-old rubber trees and 5) 26-year-old rubber trees with 80 replications. The results showed that merchantable tree volume (m3/rai) in different ages could be estimated by the following equation; y = 0.646 + 0.207A - 0.188H + 3.554B (r2= 0.99). Furthermore, soil and climate factors were able to estimate the latex yield and were also correlated with the actual yield; y = 0.1223x + 318.43 (r2= 0.76). This study leads to the prediction of rubber yield which calculated wood volume and latex yield will have the highest value in 2017 at approximately 236,000 m3 and 7,026 metric tons, respectively.
Keywords: yield prediction; latex yield; rubber wood; Hevea brasiliensis