การผลิตฝักสดถั่วฝักยาวจากเมล็ดพันธุ์อินทรีย์

Main Article Content

ร่วมจิตร นกเขา
ขวัญจิตร สันติประชา
วัลลภ สันติประชา

Abstract

บทคัดย่อ

ทดลองนำเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่ได้จากการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์มาผลิตฝักสด โดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากผักบุ้งผสมน้ำอัตรา 1:1,000 ยิปซั่มอัตรา 50 กก.ต่อไร่ และน้ำหมักชีวภาพจากผักบุ้งผสมน้ำอัตรา 1:1,000 ร่วมกับยิปซั่มอัตรา 50 กก.ต่อไร่ เปรียบเทียบกับการผลิตที่ใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูโดยใช้สารสกัดจากใบยาสูบใน 3 วิธีการแรก และใช้สารเคมีในวิธีการผลิตที่ใช้สารเคมี โดยทั้ง 4 วิธีการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเมื่อมีแมลงศัตรูเข้าทำลาย  ที่แปลงทดลองของภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงสิงหาคม 2547 พบว่า การผลิตฝักสดของถั่วฝักยาวที่ใช้น้ำหมักชีวภาพให้ผลผลิตฝักสด 2,171 กก.ต่อไร่ มีแนวโน้มสูงกว่าการผลิตที่ใช้ยิปซั่ม น้ำหมักชีวภาพร่วมกับยิปซั่ม และใช้สารเคมีที่ให้ผลผลิตฝักสด, 1,894 1,846 และ 2079 กก.ต่อไร่ ตามลำดับ ทางด้านคุณภาพฝักสดของถั่วฝักยาว พบว่า การผลิตที่ใช้น้ำหมักชีวภาพให้ความยาวฝัก 63.49 ซม. ไม่แตกต่างกับการผลิตที่ใช้สารเคมีที่ให้ความยาวฝัก 63.08 ซม. แต่แตกต่างกับการผลิตที่ใช้ยิปซั่ม และน้ำหมักชีวภาพร่วมกับยิปซั่มที่ให้ความยาวฝัก 61.31 และ 61.51 ซม. ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักฝักที่ผลิตจากทุกวิธีการไม่แตกต่างทางสถิติ โดยอยู่ในช่วง 20.89-24.71 กรัม และมีสีฝักเป็นสีเขียวอ่อนในกลุ่มสีเขียวเบอร์ 143C (Green group # 143 C)

คำสำคัญ : น้ำหมักชีวภาพ; เมล็ดพันธุ์อินทรีย์; ถั่วฝักยาว


Abstract

An experiment to determine organic yardlong bean production methods was done using organic yardlong bean seeds with  4 treatments i.e. bio-extract solution from water convolvulus rated 1:1,000, gypsum rated 50 kg./rai, bio-extract solution from water convolvulus rated 1:1,000 plus gypsum rated 50 kg./rai, and        15-15-15 fertilizer. Tobacco extract solution was used for the first three treatments while chemical insecticiles were used with the fourth treatment to control  major insect pests when necessary. The experiment had been done at the Department of Plant Science, Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University, Hat Yai campus, Songkhla during June and August, 2004. The results showed that yardlong bean crop with the bio-extract solution application produced pod yield of 2,171 kg./rai, whereas gypsum, the mixture of bio-extract solution and chemical method produced pod yield of 1,894, 1,846 and 2079 kg./rai, respectively, which were not significantly different among the treatments. Regarding to the yardlong bean pod quality, the bio-extract solution gave the longest pod of 63.49 cm which was not significantly different from the chemical method which produced a long pod of 63.08 cm, but the two treatments, gypsum and the mixture of bio-extract gave a long pods of 61.31 and 61.51 cm respectively, which were significantly different from that of the bio-extract solution. The pod weights, however,   were not significantly different among the four treatments. The pod weights which were ranged from 20.89 to 24.71 gm, however, were not significantly different among the four treatments whereas the four treatments gave the same pod color of Green group # 143 C.

Keywords: bioextract solution; organic seed; yardlong bean

Article Details

Section
บทความวิจัย