การปรับปรุงพันธุ์ขมิ้นชันเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ

Main Article Content

บุญหงษ์ จงคิด
ปัทมา ตาไล
ทิพวรรณ หอมไม่วาย

Abstract

บทคัดย่อ

การปรับปรุงพันธุ์ขมิ้นชันเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและคัดเลือกสายพันธุ์ขมิ้นชันที่สามารถให้ผลผลิตสูงทั้งด้านปริมาณ คือ น้ำหนักของเหง้าต่อต้น และทางด้านคุณภาพ ได้แก่ ปริมาณของสารเคอร์คูมินในเหง้าซึ่งเป็นตัวยาที่สำคัญของขมิ้นชัน นอกจากนั้นยังทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงควบคู่ไปกับความต้านทานโรคแอนแทรคโนส (Collettotrichum capsici) และหนอนกัดกินใบอีกด้วย งานวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 การทดลองที่กระทำในพื้นที่ปลูกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 จนถึงเดือนมีนาคม 2551 ในการทดลองแรกเป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ขมิ้นชันในชั่วรุ่น M2ที่ถูกชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยรังสีแกมม่าเข้มข้น 10 และ 20 กิโลแรคส์ และสาร colchicines เข้มข้น 0.2% โดยไม่มีการวางแผนการทดลองทางสถิติเนื่องจากเป็นการคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อให้ได้สายพันธุ์ขมิ้นชันในชั่วรุ่น M2 ที่สามารถให้ผลผลิตน้ำหนักเหง้าต่อต้น และปริมาณสารเคอร์คูมินสูงควบคู่ไปกับความต้านทานโรคแอนแทรคโนสและหนอนกัดกินใบ ซึ่งพบว่า สายพันธุ์ TU04-9-20 Krad-r-Irr-16 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำหนักสดและแห้งต่อต้น (196.7 และ 32.8 กรัมตามลำดับ) ให้ปริมาณสารเคอร์คูมิน (12.84%) มีความต้านทานโรคแอนแทรคโนสและหนอนกัดกินใบ (มีพื้นที่ใบเสียหาย 3.0 และ 2.9% ตามลำดับ) มากที่สุด แต่ก็ไม่มีสายพันธุ์ใดที่กลายพันธุ์สามารถให้ผลผลิตเหง้าต่อต้น ปริมาณสารเคอร์มิน และความต้านทานโรคแอนแทรคโนสและหนอนกัดกินใบสูงเทียบเท่ากับสายพันธุ์ TU04-9 และ TU04-38 ที่ไม่ถูกชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์แต่อย่างใด ซึ่งสายพันธุ์กลายพันธุ์เหล่านี้ก็ยังมีโอกาสที่แสดงลักษณะดีๆ ให้ปรากฏในชั่วรุ่น M3 หรือ M4ต่อไปได้ ส่วนในการทดลองที่ 2 นั้นเป็นการทดสอบเปรียบเทียบสายพันธุ์ขมิ้นชันจำนวน 4 สายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกจากทุกภาคของประเทศไทยและสามารถให้ผลผลิตสูงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพควบคู่ไปกับความต้านทานโรคแอนแทรคโนสและหนอนกัดกินใบในระดับสูง ซึ่งมีสายพันธุ์ TU04-24 (จากจังหวัดนนทบุรี) ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เป็นสายพันธุ์ตรวจสอบมาตรฐานโดยทำการคัดเลือกเหง้าที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อสีส้มเข้มของแต่ละสายพันธุ์มาปลูก มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าสายพันธุ์ TU04-9 มีน้ำหนักเหง้าสดและแห้งต่อต้น (975.3 และ 162.0 กรัมตามลำดับ) มีปริมาณสารเคอร์คูมิน (14.62%) และมีความต้านทานโรคแอนแทรคโรสและหนอนกัดกินใบ (พื้นที่ใบเสียหาย 2.8 และ 2.7% ตามลำดับ) สูงที่สุด โดยเฉพาะปริมาณสารเคอร์คูมินนั้นยังเพิ่มขึ้นจาก 13.02% เป็น 14.62% หลังจากมีการคัดเลือกขนาดของเหง้าและสีของเนื้อเหง้าก่อนปลูกอีกด้วย ซึ่งสายพันธุ์ TU04-9 นี้ได้รับการคัดเลือกไว้เพื่อปลูกทดสอบเสถียรภาพในการให้ผลผลิตในหลายท้องที่ที่มีสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันออกไป

คำสำคัญ : ขมิ้นชัน; แอนแทรคโนส; หนอนกัดกินใบ

 

Abstract

The objectives of varietal improvement of Curcuma longa for higher quantitative and qualitative yields were to test and select the best yielding Curcuma line based on its rhizome weight per plant, rhizome curcumin percentage in addition to its resistances to the authracnose disease (Collettotrichum capsici) and leaf eating worm.  The first experiment consisted of 12 line mutant treatments whereas the four formerly selected lines were the treatments in the second experiment designed in RCB with 4 replications.  Both experiments had been conducted from June 2007 to March 2008 at Thammasat Rangsit Campus in Pathumthani.  The results showed that TU04-9-20 Krad-r-Irr-16 gave the best performances based on rhizome fresh and dry weights per plant (196.7 and 32.8 g, respectively), curcamin percentage content (12.84%), anthracnose disease and leaf eating worm resistance (3.0 and 2.9% leaf damages, respectively) among the line mutants, but there was no line mutant giving as good performances as those of the four formerly selected lines.  These line mutants, however, may perform better in the M3 or M4 generations.  In addition, TU04-9 showed the best performances in terms of rhizome fresh and dry weights per plant (197.5 and 32.8 g, respectively), rhizome curcumin percentage content (14.62%), anthracnose disease and leaf eating worm resistances (2.8 and 2.7% leaf damages, respectively) among the four formerly selected lines.  This selected line TU04-9 must go into the yielding stability trial at different locations in the following year.

Keywords: Curcuma longa; anthracnose disease; leaf eating worm

Article Details

Section
บทความวิจัย