จุลกายวิภาคและมิญชเคมีของระบบสืบพันธุ์ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา Catopsilia pomona (Fabricius, 1758)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ศึกษาโครงสร้างจุลกายวิภาคของระบบสืบพันธุ์ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา Catopsilia pomona (Fabricius, 1758) ผลการศึกษาพบว่าอัณฑะของผีเสื้อหนอนคูนเพศผู้ถูกห่อหุ้มด้วย peritoneal membrane ภายในพบหลอดสร้างอสุจิ (sperm tube) จำนวนมาก แต่ละหลอดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ germarium และ vitellariumโดยที่ vitellarium ประกอบด้วย 3 โซนย่อย ได้แก่ zone of growth, zone of maturation และ zone of transformation ตามลำดับ แต่ละโซนย่อยประกอบด้วยระยะเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน โดยที่ระยะ spermatogonia, spermatocyte และ spermatids มีการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์อยู่ภายในถุงสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (spermatocyst) ยกเว้นระยะ spermatozoa นอกจากนี้ยังพบท่อนำอสุจิ (vas efferens) ท่อนำอสุจิรวม (vas deferens) ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) และต่อมเกื้อกูลเพศ (accessory gland) ที่มีโครงสร้างทางด้านจุลกายวิภาคแตกต่างกัน ส่วนรังไข่ของผีเสื้อเพศเมียจัดเป็นแบบ meroistic ovariole คือมีส่วนของเซลล์พี่เลี้ยง (nurse cells) ภายในรังไข่พบระยะ previtellogenic และ vitellogenic ตามลำดับ นอกจากนี้โครงสร้างของท่อนำไข่ด้านข้าง (lateral oviduct) ท่อนำไข่รวม (common oviduct) และต่อมเกื้อกูลเพศ (accessory gland)โดยเฉพาะถุงเบอร์ซาคอพูลาทริกซ์ (bursa copulatrix) สามารถพบได้ในการศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลที่ได้ทำให้ทราบถึงระบบสืบพันธุ์ของผีเสื้อชนิดนี้ ซึ่งจัดเป็นรายงานวิจัยฉบับแรกของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านการศึกษาเนื้อเยื่อแต่ยังเป็นใช้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตต่อไปได้
คำสำคัญ : เนื้อเยื่อวิทยา; ระบบสืบพันธุ์; ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา
Abstract
Basic histological structure of reproductive system of the pierid butterfly Catopsilia pomona (Fabricius, 1758) was investigated. For the longitudinal section, the results revealed the testis was surrounded by peritoneal membrane. The parenchyma of each testis was composed of sperm tubes, which were separated into two parts i.e., germarium and vitellarium. Vitellarium can be classified into three distinct zones including growth, transformation and maturation zones. Based on differences structural feature of male’s germ cells, spermatogenic stages were included spermatogonia, spermatocytes and spermatids which were synchronously developed, commonly called spermatocyst, except spermatozoa. Vas efferens, vas deferens, seminal vesicle and accessory gland were presented in this study. For the type of ovariole, it is considered as a meroistic ovariole that existed nurse cells. This type was only found in the previtellogenic and vitellogenic stages. Besides, the common and lateral oviducts, common oviduct, accessory gland and bursa copulatrix were also observed. Herein, the results from this precursory histology are speculated as the first report for Thailand in this time. This study will be raised not only the basal knowledge of histological aspect but also will be useful or applied for further research.
Keywords: histology; reproductive system; Catopsilia pomona