การประมาณผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปรังด้วยข้อมูลดาวเทียม SMMS โดยใช้ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ (NDVI) : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ภราดร กาญจนสุธรรม
นิพนธ์ ตั้งธรรม
เรืองไร โตกฤษณะ

Abstract

บทคัดย่อ

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย ทั้งนี้เพราะการเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศปลูกข้าวเป็นพืชหลัก เพื่อใช้บริโภคภายในประเทศและยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอีกดัวย ประเทศไทยได้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกนับแต่ปี 2524 โดยปี 2554 ส่งออก 10.7 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 196,000 ล้านบาท มีปริมาณส่วนแบ่งในตลาดโลกคิดเป็น 31.90 % การวางแผนและกำหนดนโยบายทางเกษตรต้องใช้ผลผลิตต่อไร่เป็นหลักจึงได้มีการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ติดตามผลผลิตข้าวนาปรัง ในพื้นที่ตัวอย่างจำนวน 16 แปลงในบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาค่าผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปรัง จากค่าสะท้อนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่บันทึกโดยข้อมูลภาพจากดาวเทียม SMMS และคำนวณหาค่า NDVI นำผลลัพธ์เปรียบเทียบกับข้อมูลสำรวจภาคพื้นดินติดตามการเจริญเติบโตของพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังเป็น 4 ระยะ ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว คือ 30, 60, 90 และ 120 วันตามลำดับ ที่ความชื้นเมล็ดมาตรฐานที่ 15 % และคำนวณผลผลิตต่อไร่ เมื่อข้าวอายุ 30, 60, 90 และ 120 วัน ไค้ค่า NDVI เฉลี่ย เท่ากับ 0.3286, 0.4041, 0.4734 และ 0.4565 ตามลำดับ แล้วคำนวณค่าผลผลิตต่อไร่ด้วยค่าดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ NDVI จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SMMS โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์อย่างง่าย (simple linear regression and correlation) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,229 กก./ไร่ และนำมาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) ได้เท่ากับ 4.87

คำสำคัญ : ข้าวนาปรัง; ค่าดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ; ผลผลิตต่อไร่; ดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก

 

Abstract

Rice is an important crop in Thailand. Rice is the main crop for domestic consumption and being the needs of the international market. Since 1981, Thai has being the first wholesaler of rice export in our world. In 2011, Thai rice export as 10.70 million tons (value as 196,000 million baht), world market share equals to 30.39 %. In this study we use Geo-information application techniques, SMMS data for estimate dry-season rice quantity in Muang District, Suphan Buri Province. The objective was to determine the dry-season rice’s yield from electromagnetic energy reflectance of SMMS and calculate NDVI. These results are compared ground-truth data by separate 4 stages, according to the growth stage of rice is 30, 60, 90 and 120 days at 15 % humidity and calculate yield in each growth stages. The NDVI is calculated in each growth stages, about 0.3286, 0.4041, 0.4734 and 0.4565. Then evaluate yield of NDVI from SMMS by using Simple Linear Regression and Correlation Analysis with computer software is 1,229 kg/rai. The accuracy assessment is determined by using the mean absolute percentage errors (MAPE) is equal to 4.87.

Keywords: dry-season rice; normalized difference vegetation index; yield; small multi mission satellite

Article Details

Section
บทความวิจัย