ปัจจัยทำนายภาวะอ่อนล้าของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

Main Article Content

ศยามล รมพิพัฒน์
อัจฉรียา ปทุมวัน
ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของปัจจัยภาวะซึมเศร้า ระดับฮีโมโกลบิน การนอนหลับแปรปรวน และอาการคลื่นไส้อาเจียนต่อภาวะอ่อนล้าของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันอายุ 7-15 ปี ที่เข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาล  4 แห่ง คือ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2556  จำนวน 54 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า การนอนหลับแปรปรวนและระดับฮีโมโกลบินสามารถร่วมกันทำนายภาวะอ่อนล้าของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้ร้อยละ 72.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ผลการวิจัยนี้ช่วยให้พยาบาลตระหนักถึงอิทธิพลของการนอนหลับแปรปรวนและระดับฮีโมโกลบินต่อภาวะอ่อนล้าของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและสามารถนำมาวางแผนการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือบรรเทาภาวะอ่อนล้า  ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กโรคมะเร็งให้ดีขึ้น

คำสำคัญ : ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง; ภาวะอ่อนล้า; ปัจจัยทำนายภาวะอ่อนล้า

 

Abstract

This descriptive research aimed to examine predictive factors such as depression, hemoglobin level, sleep disturbance, nausea and vomiting that predict fatigue in acute lymphoblastic leukemia children who are receiving chemotherapy. The study sample consisted of 54 pediatric leukemic patients aged 7-15 years old receiving chemotherapy at 4 hospitals including Ramathibodi Hospital, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Queen Sirikit National Institute of Child Health and Thammasat University Hospital from August 2012 to May 2013.  Descriptive statistics and stepwise multiple regression were used to analyze data. The results of the study found that sleep disturbance and hemoglobin levels were the predictors, as they all explained 72.30 % of fatigue in acute lymphoblastic leukemia children who were receiving chemotherapy at 0.001 level. According to the findings, it is recommended that the nurses should increase their awareness about the influence of sleep disturbance and hemoglobin levels on fatigue, while pediatric leukemic patients are receiving chemotherapy, and plan for comprehensive nursing interventions in order to prevent or relief fatigue, thus increasing their quality of life.

Keywords: children with cancer; fatigue; predicting factors of fatigue

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ศยามล รมพิพัฒน์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  12120

อัจฉรียา ปทุมวัน

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400