ผลของรูปแบบการพัฒนาทักษะการดูแลต่อการหายของแผลในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ

Main Article Content

จิณพิชญ์ชา มะมม
พิชัย จันทร์สวัสดิ์
ศิริพร เนียมฤทธิ์
ไพรัช ใบครุธ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพัฒนาทักษะการดูแลต่อการหายของแผลในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีแผลกดทับซึ่งแพทย์อนุญาตให้ไปดูแลแผลที่บ้านตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กันยายน 2554 จำนวน 40 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง 20 ราย แรกจัดเข้ากลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มตัวอย่าง 20 ราย หลังจัดเข้ากลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับการพัฒนาทักษะการดูแลแผลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบประเมินการหายของแผลกดทับ (3) รูปแบบการพัฒนาทักษะการดูแลแผล ซึ่งประกอบด้วย การให้ความรู้และการสาธิตการทำความสะอาดแผล ร่วมกับการใช้คู่มือการดูแลแผลกดทับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่าภายหลังเข้าร่วมโครงการ 4 สัปดาห์ อัตราการหายของแผลของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการพัฒนาทักษะการดูแลแผลที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการหายของแผลจึงควรนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป

คำสำคัญ : ทักษะการดูแลแผล; การหายของแผล; แผลกดทับ

AbStract

This quasi-experimental research is aimed at comparing the healing progress of pressure ulcers between the patient group receiving adeveloped wound care skills and the patient group receiving only conventional nursing care. The samples in this research consist of forty pressure ulcer patients employing self-care at home under the doctor’s permission from May to September, 2011. The simple grouping method was used and the first twenty patients were used as the control group, whereas the remaining twenty patients were assigned to the study group. Three main research tools were used: (1) a demographic data recording form; (2) the Pressure Ulcer Status Tool; and (3) a wound care skills composed of anawareness and demonstration of clean wounds with handbook on pressure ulcer care. Data analysis was performed using mean, standard deviationand t-test. The results revealed that at 4 weeks after enrollment, the experimental group showed a significant increase in the wound healing progress, higher than before entering the program (p < 0.01) and higher than those in the control group (p < 0.01). The results from this study show that this developed wound care skills for pressure ulcer care was effective in promoting wound healing. The results suggest that this educational program can be useful as a guideline for preparing a handbook for home-based pressure ulcer care, which would benefit nursing practice as a whole in the future.

Keywords: developed wound care skills; wound healing progress; pressure ulcer patients

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

จิณพิชญ์ชา มะมม

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

พิชัย จันทร์สวัสดิ์

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ศิริพร เนียมฤทธิ์

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ไพรัช ใบครุธ

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120