การเปรียบเทียบความชุกของวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์กับนักศึกษาที่ไม่ใช่นักศึกษาในคณะสุขศาสตร์

Main Article Content

สุนทรา เลี้ยงเชวงวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก การศึกษารวบรวมทางระบาดวิทยาปรากฏชัดเจนว่าสาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสัมพันธ์กับวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งสะสมมาตั้งแต่วัยเด็กและมากขึ้นในวัยผู้ใหญ่ การศึกษาของต่าง ประเทศพบว่าวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดพบมากที่สุดในวัยนักศึกษา การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความชุกของวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์กับนักศึกษาที่ไม่ใช่นักศึกษาคณะสุขศาสตร์ (คณะรัฐศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 546 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคลและวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับมาก ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มี 2 ด้าน คือ ด้านการออกกำลังกายน้อยและการมีวิถีชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์มี 4 ด้าน คือ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายน้อย วิถีชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์มี 3 ด้าน คือ การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การออกกำลังกายน้อย และการมีวิถีชีวิตนั่ง ๆ    นอน ๆ  เปรียบเทียบวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดระดับความเสี่ยงสูง (high risk) และความเสี่ยงสูงมาก (severe risk) พบว่านักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มีความชุกของปัจจัยเสี่ยงระดับสูงมากที่สุดในด้านการออกกำลังกายน้อย 288 คน (ร้อยละ 96.68) สูงกว่าทั้ง 2 คณะ ส่วนวิถีชีวิตอื่น ๆ พบน้อยกว่า  คือวิ ถีชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ 209 คน (ร้อยละ 69.43) การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม 158 คน (ร้อยละ 34.80) วิถีชีวิตเคร่งเครียด 65 คน (ร้อยละ 21.53) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 59 คน (ร้อยละ 19.61)  และการสูบบุหรี่ 3 คน (ร้อยละ 0.99) พบความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในระดับต่ำ โดยการออกกำลังกายน้อยมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตด้านการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมระดับต่ำ (r = 0.176, p = 0.05)

คำสำคัญ : ความชุก; วิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด; นักศึกษามหาวิทยาลัย

Abstract

Cardiovascular disease (CVD) remains the leading cause of death and disability of worldwide. The accumulated scientific evidence from epidemiology showing that CVD is associated with lifestyles-related atherosclerosis consolidates and solidifies atherosclerosis during childhood and often tracks into adulthood. The  studies in other countries showed that most prevalence of lifestyle-related cardiovascular risk factors (CVRF) found in college or university students. The descriptive correlational design objectives were compare the prevalence of lifestyle-related CVRFs among nursing students and non-health science students (Faculty of Political Science, Thammasat University and Faculty of Science, Chulalongkorn University). Total sample was 546 participants. The instruments composed of the Demographic Data Recording form and Lifestyle-Related CVRF Assessment form. Data were analyzed using descriptive statistics, percent, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment. The data revealed that nursing students’ mean score of lifestyle-related CVRF were in high level for two factors (physical inactivity and sedentary lifestyle), the Political Science students had four factors (unhealthy dietary diet, physical inactivity, sedentary lifestyle, and alcohol consumption), the Faculty of Science found three factors (unhealthy dietary diet, physical inactivity, and sedentary lifestyle).  Comparing lifestyle-related CVRF of high risk and severe risk between nursing students and other faculties found that nursing students have prevalence of  high and severe risk in physical inactivity 288 persons (95.68 %) and higher than the two faculties. However, other lifestyle-related CVRFs showed lower than the two faculties that was sedentary lifestyle 209 persons (69.43 %), unhealthy dietary habits 158 persons (34.80 %), stressful lifestyle 65 persons (21.53 %), alcohol consumption 59 persons (19.61 %), and cigarette smoking 3 persons (0.99 %). This study found that the correlation of lifestyle-related CVRFs among nursing students was low and physical inactivity were correlated with only unhealthy dietary habits in low level (r = 0.176, p = 0.05)

Keywords: prevalence; lifestyle-related cardiovascular risk factors; university student

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สุนทรา เลี้ยงเชวงวงศ์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120