การรับรู้ความพร้อมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Main Article Content

ธีรนุช ห้านิรัติศัย
ปริญญา แร่ทอง

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความพร้อมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 6 คน ใช้แนวคิดความพร้อมในการดูแลของอาร์ชโบล และคณะ เป็นแนวทางในการศึกษา ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2555 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความพร้อมของการเป็นผู้ดูแลซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลรับรู้ว่าการรับบทบาทผู้ดูแลคือภาระที่ต้องรับผิดชอบ เป็นการสร้างบุญและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง สำหรับการรับรู้ความพร้อมในการดูแล ในระยะแรกรู้สึกกังวล ไม่ทราบว่าเป็นอะไร กลัวอาการเป็นมากขึ้น หมดกำลังใจ เครียด สับสน เคว้งคว้าง กลัวดูแลไม่ได้ ความต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความพร้อม ได้แก่ คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแล ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำลังใจจากบุคคลรอบข้าง แหล่งช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย ข้อมูลเกี่ยวกับสถานรับการดูแลระยะยาว และอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการดูแล

คำสำคัญ : การรับรู้ความพร้อม; ผู้ดูแล; ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Abstract

This study was a descriptive study design using qualitative method aimed at exploring the perceived preparedness in caregiving of stroke’s caregivers.  Six caregivers of the stroke patients attending the university hospital were studied. The study was conducted at one university hospital in Pathumthani from January 2012 to July 2012.  In depth interview with the participants using open ended questionnaire were performed.  Data were analyzed by using content analysis. The results revealed that being caregivers were (1) their responsibility, (2) merit making, and (3) the things that they were proud of. For the perceived preparedness, at the first phase, they felt anxiety, exhausted, confused, stressful, and don’t know what would happen. For their preparedness to take the role as a caregiver, they expressed that they needed (1) information regarding patients’ caring, (2) health insurance rights, (3) encouragement from persons surrounding, (4) money resources, and (5) information regarding long term care facilities and medical devices for patient’s caring.

Keywords: perceived preparedness; caregiver; stroke patient

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ธีรนุช ห้านิรัติศัย

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ปริญญา แร่ทอง

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120