การบำบัดด้านจิตสังคมในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติด : การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตเวชที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบโดยตรงต่อประชากร 1 % ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเกิดผลกระทบโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว การสูญเสียรายได้ และต้นทุนทางการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก องค์ความรู้การบำบัดรักษาด้านจิตสังคมเพื่อลดอาการทางจิตในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติด พบว่าการจัดการรายกรณีการสัมภาษณ์เพื่อเสริมแรงจูงใจในการรักษา การบำบัดความคิดและพฤติกรรม การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มช่วยเหลือกันเอง และการบำบัดดูแลเชิงรุกในชุมชน เป็นรูปแบบที่ใช้ในการบำบัดรักษาด้านจิตสังคมในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติดซึ่งมีความสำเร็จด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาลในระดับหนึ่งอีกทั้งยังมีข้อจำกัดหลายๆด้าน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลน้อยของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือที่จะชี้กลยุทธ์/รูปแบบการบำบัดทางด้านจิตสังคมรูปแบบใดที่มีประสิทธิภาพที่สุด พยาบาลจิตเวชเป็นผู้มีความสำคัญยิ่งและมีผลต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยเนื่องจากพยาบาลจิตเวชสามารถช่วยผู้ป่วยจัดการกับอาการหูแว่ว ประสาทหลอน และการรักษาโดยการใช้สัมพันธภาพระหว่างบุคคล นอกจากนี้อาการทางจิตเป็นสิ่งที่เข้าใจยากและซับซ้อน ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งที่มีความจำเป็นที่พยาบาลจิตเวชควรศึกษา เพราะเชื่อว่าหากพยาบาลจิตเวชเข้าใจอย่างถ่องแท้ในปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการทางจิตแล้วจะสามารถหารูปแบบการบำบัดทางการพยาบาลให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้
คำสำคัญ : อาการทางจิต; โรคจิตเภท; สารเสพติด; การบำบัดทางจิตสังคม
Abstract
Schizophrenia is a devastating mental illness that directly affects about 1 % of the population worldwide and Thailand. Its indirect impact – measurable in distress of affected individuals and their families, lost wages, and health care costs – is greater still. The bodies of knowledge on the psychosocial intervention-studied aim to decrease psychotic symptoms among drug-abusing schizophrenic patients were case management, motivation Interview, cognitive behavior therapy, social support self-help group, and the assertive community treatment which has a success in term of nursing outcomes and remain limitation. In addition, less is known about which of these specific strategies are most helpful. Lack of strongly evidence based data signifies the need for more research about the psychosocial intervention. Psychiatric nurses can have a significant effect on various aspects of psychotic symptoms for persons with schizophrenia because they can help patients adjust to challenges of hallucination, delusion and treatment due to their interpersonal relationships. In addition, the relationship of psychotic symptoms is intricate and complex. Psychotic symptom is an essential aspect for psychiatric nurses to explore. It was believed that a clear understanding of factors related psychotic symptoms would facilitate the design of an optimal and effective nursing intervention.
Keywords: psychotic symptoms; schizophrenia; substance misuse; psychosocial intervention